Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13506
Title: | Controlling the Statute of Limitations for Criminal Cases ปัญหาการกำหนดอายุความตามกฎหมายอาญา |
Authors: | SASINADDA PONGPAKDEE ศศินัดดา พงษ์ภักดี Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ Sukhothai Thammathirat Open University Wanwipa Muangtham วรรณวิภา เมืองถ้ำ [email protected] [email protected] |
Keywords: | อายุความคดีอาญา การกำหนดอายุความ การดำเนินคดีอาญา Statute of limitations in criminal cases Determination of statute of limitations Criminal proceeding |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aims to (1) study the concepts, theories, and history of the statute of limitations in criminal cases, (2) study and compare legal issues regarding the statute of limitations in criminal cases between Thailand, United States of America, Federal Republic of Germany and Japan; (3)analyze legal problems concerning the statute of limitations in criminal cases in Thailand, and (4) propose recommendations for improving the efficiency of the statute of limitations in criminal cases.This research is a qualitative study, emphasizing documentary research. It involves studying information from various sources such as statutory laws in the form of legal codes, textbooks, journals, research papers, theses, dissertations, articles, and information media. These sources will be analyzed to understand the statute of limitations in criminal cases. Additionally, online databases from Thailand, United States of America, Federal Republic of Germany and Japan will be utilized to propose recommendations for the amendment of the statute of limitations in criminal cases, aiming to make it more appropriate and effective.The study found that (1) according to the concepts, theories, and criteria for establishing statutes of limitations in criminal cases, a primary rationale is based on the concept of the “law of forgetting” (2) When comparing Thailand's laws on the statute of limitations in criminal cases with those of United States of America, Federal Republic of Germany and Japan, Thailand's laws has not been amended to suit the current conditions of Thai society causing the increase of the number of lapse case. Therefore, the statute of limitations that had previously been set became less strict. (3) The current statute of limitations in Thailand lacks the implementation of other principles, such as the principle of not counting the statute of limitations for certain types of criminal cases, the principle of extending the statute of limitations, and the principle of temporarily stopping the statute of limitations, which are necessary to enhance justice. As a result, the number of cases expiring due to the statute of limitations has increased. (4) Suggestions to amend and improve the provisions regarding the determination of the statute of limitations to be more comprehensive and appropriate for the greatest benefit of the justice process. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของกฎหมายในการกำหนดอายุความในคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิเช่น การวิจัยจากตัวบทในรูปแบบของประมวลกฎหมาย หนังสือตำรา วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ บทความ สื่อสารสนเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์กฎหมายอายุความในคดีอาญา และฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอายุความในคดีอาญาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ในการกำหนดให้มีอายุความ ในคดีอาญา มีเหตุผลหลักที่สำคัญจากแนวคิดเรื่องกฎแห่งการลืม (2) กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศแล้วกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้เริ่มมีคดีขาดอายุความมากขึ้น จึงทำให้อายุความที่เคยกำหนดไว้มีความหนักแน่นน้อยลง (3) การกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์อื่นๆ เช่น หลักการไม่นับอายุความในคดีอาญาบางประเภท หลักการขยายอายุความ หลักการหยุดนับอายุความชั่วคราว มาบังคับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอำนวยความยุติธรรมเท่าที่ควร ทำให้คดีขาดอายุความเพิ่มมากขึ้น (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอายุความให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการยุติธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13506 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001813.pdf | 950.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.