กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13506
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการกำหนดอายุความตามกฎหมายอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Controlling the statute of limitations for criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ศศินัดดา พงษ์ภักดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจำกัดอายุความฟ้องคดี (กฎหมายอาญา)
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของกฎหมายในการกำหนดอายุความในคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิเช่น การวิจัยจากตัวบทในรูปแบบของประมวลกฎหมาย หนังสือตำรา วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ บทความ สื่อสารสนเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์กฎหมายอายุความในคดีอาญา และฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอายุความในคดีอาญาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ในการกำหนดให้มีอายุความ ในคดีอาญา มีเหตุผลหลักที่สำคัญจากแนวคิดเรื่องกฎแห่งการลืม (2) กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศแล้วกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้เริ่มมีคดีขาดอายุความมากขึ้น จึงทำให้อายุความที่เคยกำหนดไว้มีความหนักแน่นน้อยลง (3) การกำหนดอายุความในคดีอาญาของประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์อื่นๆ เช่น หลักการไม่นับอายุความในคดีอาญาบางประเภท หลักการขยายอายุความ หลักการหยุดนับอายุความชั่วคราว มาบังคับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอำนวยความยุติธรรมเท่าที่ควร ทำให้คดีขาดอายุความเพิ่มมากขึ้น (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอายุความให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการยุติธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654001813.pdf950.88 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น