Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13507
Title: | การศึกษามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 |
Other Titles: | Special measures in lieu of criminal prosecution in the Juvenile Justice System under the Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553 (2010) |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต ฤทธิชัย สมไพบูลย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน และรูปแบบการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศนิวซีแลนด์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (4) แนะแนวทางแก้ไขพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ กฎหมาย อนุสัญญา ข้อกำหนด กฎระเบียบและข้อบังคับ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ได้แก่ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ บทความทางวิชาการ และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหาได้ผลอย่างไร ผลการศึกษา พบว่า (1) มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาถูกนำมาใช้เพื่อหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติ โดยนำแนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาประยุกต์ใช้เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและยึดหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ (2) มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในประเทศที่ศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น การประชุมกลุ่มครอบครัว การไกล่เกลี่ย และการเตือนอย่างมีเงื่อนไข สำหรับประเทศไทยใช้รูปแบบประชุมจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการประชุมกลุ่มครอบครัวของประเทศนิวซีแลนด์ (3) มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทยในชั้นก่อนฟ้องและชั้นพิจารณามีหลักเกณฑ์แยกประเภทคดีจากอัตราโทษจำคุกอย่างสูงซึ่งเห็นว่ายังไม่เหมาะสม นอกจากนี้ กระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูยังขาดการให้ความสำคัญการมีส่วนร่วมของผู้แทนชุมชน (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้องและชั้นพิจารณา รวมถึงเสนอแนะให้มีการแก้ไของค์ประกอบผู้เข้าร่วมประชุมการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13507 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001839.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.