กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13512
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาชั้นหลังพิจารณา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of protecting victims’ rights in civil cases related to criminal cases after trial
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
พัชรินทร์ ใสเวช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้เสียหาย--การคุ้มครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับ การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในชั้นหลังพิจารณาของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาชั้นหลังพิจารณา (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาชั้นหลังพิจารณาให้มีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ในคดีอาญา มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเยียวยาผู้เสียหาย (2) เมื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทย  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกาต่างให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย สหรัฐอเมริกามีการตั้งหน่วยงานฟ้องร้องทางการเงิน บังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมความผิดร้ายแรง ก่อนการปล่อยตัวจำเลยมีการแจ้งเตือนไปยังผู้เสียหายและ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจ่ายค่าตอบแทนความเสียหายโดยมิได้กำหนดเพดานขั้นสูง และไม่คำนึงถึงฐานะของผู้เสียหาย (3) กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายชั้นหลังพิจารณาของประเทศไทย มีกองทุนยุติธรรมทำหน้าที่บังคับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โดยพิจารณาถึงฐานะของผู้รับความช่วยเหลือ  การจ่ายเงินค่าตอบแทน ความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายยังไม่ครอบคลุมความผิดอาญาร้ายแรง และไม่มีบทบัญญัติให้แจ้งผู้เสียหาย ทราบก่อนการปล่อยตัวจำเลย  (4) เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาในส่วนการบังคับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดอาญาร้ายแรงตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทน และค่าทดแทนค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และบัญญัติให้กรมราชทัณฑ์มีหน้าที่แจ้งการปล่อยตัวจำเลยให้ผู้เสียหายทราบ ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654002126.pdf997.17 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น