กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13520
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายที่ใช้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures used to determine punishment for juvenile offenders
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต
ชีรพงษ์ กาญจนกันติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
ค่าปรับ
วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เปรียบเทียบกับสิงคโปร์  ญี่ปุ่น อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และในสหราชอาณาจักร (3) ศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการผลงานวิจัย วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการหาข้อมูลทางเว็บไซด์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและใช้การสำรวจ และค้นหาจากทางโทรศัพท์ เว็บไซต์และทางข่าวสารต่าง ๆ จากสื่อโทรทัศน์ แล้วนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและข้อสรุป ภายใต้หลักทฤษฎีและหลักกฎหมาย เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยมีการกำหนดบทลงโทษไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม (2) จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเด็กและเยาวชนกับสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และในสหราชอาณาจักร มีการกำหนดกฎหมายในเรื่องของเด็กและเยาวชนที่แตกต่างจากประเทศไทย เช่น เกณฑ์อายุผู้กระทำความผิด การเปรียบเทียบปรับ การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู การนับเกณฑ์อายุผู้กระทำความผิดและการโอนคดี เป็นต้น (3) ผลการวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และในสหราชอาณาจักร พบว่ากฎหมายเด็กและเยาวชนของประเทศไทย ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ไม่สามารถใช้บังคับและเปรียบแปลงพฤติกรรมเด็กและเยาวชนได้ (4) ควรมีการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2654002795.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น