Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13522
Title: | CRIMINAL LIABILITY OF JURISTIC PERSONS : A STUDY OF CRIMINAL OFFENCES UNDER THE LABOUR PROTECTION ACT B.E. 2541 ความรับผิดอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 |
Authors: | Suttipat Sirirat สุทธิพัฒน์ ศิริรัตน์ Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล Sukhothai Thammathirat Open University Punnawit Tuppawimol ปัณณวิช ทัพภวิมล [email protected] [email protected] |
Keywords: | ความรับผิดอาญาของนิติบุคคล โทษทางอาญาสำหรับลงโทษนิติบุคคล คดีคุ้มครองแรงงาน Criminal liability of juristic persons Criminal penalties for juristic persons Labor protection cases |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This independent study aims (1) to examine the theoretical concepts and background of the criminal liability of juristic persons in labor protection cases, (2) compare the laws concerning the criminal liability of juristic persons in labor protection cases in Thailand, the United States, the French Republic and the Commonwealth of Australia, (3) analyze the legal issues related to the criminal liability of juristic persons in labor protection cases in Thailand and abroad, and (4) propose guidelines for developing and improving laws regarding criminal liability of juristic persons in labor protection cases in Thailand.This independent study employs qualitative research methods, utilizing document research from Thai-language sources, including books, legal texts, and reliable websites. It also draws form Supreme Court Judgments, academic articles, journals, research papers, theses, study reports, acts, and foreign legal principles. The study then analyzes and compares the legal frameworks, offering recommendations for appropriate legal reforms.The results of the study reveal that (1) the criminal liability of juristic persons in labor protection cases is based on the concept that juristic persons can bear criminal responsibility. However, the extent to which criminal penalties can be applied to juristic persons is limited by their inanimate, non-physical nature. (2) Thailand has statutory provisions related to the criminal liability of juristic persons in labor protection cases, similar to those in the United States and the French Republic, whereas Australia lacks such provisions. (3) The criminal penalties under the Labor Protection Act B.E. 2541 are not consistent with the current social context in Thailand. There are repeated offenses, violations involving multiple employees simultaneously, employers evading criminal responsibility, and inappropriate fine rates for juristic persons. (4) It is recommended the Sections 144 to 159 of the Labor Protection Act B.E. 2541 be amended to increase fines for juristic persons to five times the maximum fines for natural persons. Additionally, non-criminal penalties should be introduced to create more effective enforcement conditions for juristic persons, in line with the current situation. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน ทั้งในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลีย (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือหรือเอกสารที่เป็นภาษาไทย รวมถึงการหาข้อมูลทางเว็บไซด์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนศึกษาตำรากฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษา พระราชบัญญัติ รวมทั้งตำราและหลักกฎหมายของต่างประเทศ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมผลการศึกษาพบว่า (1) ความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานมีแนวคิดว่านิติบุคคล มีความรับผิดอาญาได้ โดยโทษทางอาญาที่บังคับใช้กับนิติบุคคลทำได้เพียงเท่าที่สภาพเปิดช่องให้ใช้บังคับ กับนิติบุคคลได้ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของนิติบุคคลไม่มีชีวิต ร่างกาย และความรู้สึก (2) ประเทศไทย มีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน คล้ายคลึง กับสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคล ส่วนเครือรัฐออสเตรเลียไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน (3) บทบัญญัติโทษทางอาญาสำหรับลงโทษนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์สังคมไทย โดยพบว่ามีลักษณะกระทำความผิดซ้ำหรือกระทำต่อลูกจ้างจำนวนมากในคราวเดียวกัน นายจ้างหาช่องทางหลบเลี่ยงความรับผิดทางอาญา และอัตราค่าปรับสำหรับนิติบุคคลที่ไม่เหมาะสม (4) เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทกำหนดโทษทางอาญาตั้งแต่มาตรา 144 ถึงมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สำหรับนิติบุคคล ให้ระวางโทษปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าของโทษปรับสูงสุดสำหรับบุคคลธรรมดาและเพิ่มมาตรการอื่นที่ไม่ใช่โทษทางอาญา เพื่อเกิดสภาพบังคับต่อนิติบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13522 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654002860.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.