Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13522
Title: ความรับผิดอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
Other Titles: Criminal liability of juristic persons : a study of criminal offences under the Labour Protection Act B.E. 2541
Authors: ปัณณวิช ทัพภวิมล
สุทธิพัฒน์ ศิริรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความเป็นมาความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน ทั้งในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและเครือรัฐออสเตรเลีย (3) วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือหรือเอกสารที่เป็นภาษาไทย รวมถึงการหาข้อมูลทางเว็บไซด์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนศึกษาตำรากฎหมาย คำพิพากษาฎีกา บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการศึกษา พระราชบัญญัติ รวมทั้งตำราและหลักกฎหมายของต่างประเทศ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมผลการศึกษาพบว่า (1) ความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงานมีแนวคิดว่านิติบุคคล มีความรับผิดอาญาได้ โดยโทษทางอาญาที่บังคับใช้กับนิติบุคคลทำได้เพียงเท่าที่สภาพเปิดช่องให้ใช้บังคับ กับนิติบุคคลได้ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของนิติบุคคลไม่มีชีวิต ร่างกาย และความรู้สึก (2) ประเทศไทย มีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน คล้ายคลึง กับสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคล  ส่วนเครือรัฐออสเตรเลียไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาของนิติบุคคลในคดีคุ้มครองแรงงาน (3) บทบัญญัติโทษทางอาญาสำหรับลงโทษนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์สังคมไทย  โดยพบว่ามีลักษณะกระทำความผิดซ้ำหรือกระทำต่อลูกจ้างจำนวนมากในคราวเดียวกัน นายจ้างหาช่องทางหลบเลี่ยงความรับผิดทางอาญา และอัตราค่าปรับสำหรับนิติบุคคลที่ไม่เหมาะสม (4) เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทกำหนดโทษทางอาญาตั้งแต่มาตรา 144 ถึงมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สำหรับนิติบุคคล ให้ระวางโทษปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าของโทษปรับสูงสุดสำหรับบุคคลธรรมดาและเพิ่มมาตรการอื่นที่ไม่ใช่โทษทางอาญา เพื่อเกิดสภาพบังคับต่อนิติบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13522
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654002860.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.