Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13528
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศาสดา วิริยานุพงศ์th_TH
dc.contributor.authorวิทยา ทัพรวยth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:59Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:59Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13528en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครอง (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองตามกฎหมายไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครอง (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครองในประเทศไทยการค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือและตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูล จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครอง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) หลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอถือเป็นหลักการสำคัญในเรื่องของการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีปกครองที่คู่กรณีมีฐานะทางกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน (2) หลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองของไทยยังไม่มีกำหนดหลักเกณฑ์ ขอบเขตและข้อยกเว้นเอาไว้ ซึ่งแตกต่างไปจากมาตรการทางกฎหมายในคดีปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ได้มีการบัญญัติวางหลักดังกล่าวขึ้นบังคับใช้อย่างชัดแจ้ง (3) มาตรการทางกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้นยังมีความไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เสียหายหรือผู้ฟ้องคดีได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้คู่กรณีในคดีปกครองทั้งสองฝ่ายได้รับความเป็นธรรมและได้รับการพิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน (4) เห็นควรให้มีการดำเนินการในการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อบัญญัติเอาหลักการ ขอบเขตและข้อยกเว้นแห่งหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองขึ้นบังคับใช้อย่างชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองของไทยนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นนั่นเองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครองth_TH
dc.title.alternativeLegal problems related to applying The Non Ultra Petita Rule in the Administrative Caseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this Independent Study are: (1) to examine the background, concepts and theories related to the Non Ultra Petita Rule in the administrative cases; (2) to study the legal measures concerning the application of the Non Ultra Petita Rule in the administrative cases in Thailand, the French Republic and the Federal Republic of Germany; (3) to analyze the legal problems related to the application of the Non Ultra Petita Rule in the administrative cases; and (4) to propose amendments to the current legal framework concerning the Non Ultra Petita Rule in the administrative cases in Thailand.This study employs a qualitative research approach analyzing documents such as textbooks, books, laws from Thailand and other countries, essays, journal articles, theses dissertations, academic reports, and electronic media as well as information from government agencies relevant to the application of the Non Ultra Petita Rule in administrative cases for the effectiveness and comprehensiveness The study found that: (1) The Non Ultra Petita Rule is considered an important principle for adjudicating cases under the law, especially in administrative cases where the parties often have unequal legal positions; (2) In Thailand the application of the Non Ultra Petita Rule in administrative cases lacks clearly defined criteria, scope and exceptions, unlike the legal frameworks in France and Germany, where these principles have been clearly enacted and enforced; (3)The current Thai law on administrative courts, as stipulated in the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999), is insufficient to fully ensure justice and compensation for damages, leaving plaintiffs or injured parties without -comprehensive redress.; (4) It is recommended that the Non Ultra Petita Rule be explicitly incorporated into Thai law, with clear criteria and exceptions, to improve the effectiveness and comprehensiveness of the legal measures governing administrative cases.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2664000417.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.