กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13528
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems related to applying The Non Ultra Petita Rule in the Administrative Case |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศาสดา วิริยานุพงศ์ วิทยา ทัพรวย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาคดีปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครอง (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองตามกฎหมายไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครอง (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครองในประเทศไทยการค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือและตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูล จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครอง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) หลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอถือเป็นหลักการสำคัญในเรื่องของการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีปกครองที่คู่กรณีมีฐานะทางกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน (2) หลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองของไทยยังไม่มีกำหนดหลักเกณฑ์ ขอบเขตและข้อยกเว้นเอาไว้ ซึ่งแตกต่างไปจากมาตรการทางกฎหมายในคดีปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ได้มีการบัญญัติวางหลักดังกล่าวขึ้นบังคับใช้อย่างชัดแจ้ง (3) มาตรการทางกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการนำหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอมาบังคับใช้ในคดีปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้นยังมีความไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เสียหายหรือผู้ฟ้องคดีได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้คู่กรณีในคดีปกครองทั้งสองฝ่ายได้รับความเป็นธรรมและได้รับการพิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน (4) เห็นควรให้มีการดำเนินการในการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อบัญญัติเอาหลักการ ขอบเขตและข้อยกเว้นแห่งหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองขึ้นบังคับใช้อย่างชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองของไทยนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2664000417.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น