Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13534
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorเศรษฐา แสงทองth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:57:10Z-
dc.date.available2025-01-24T08:57:10Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13534en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 3) สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกของกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมด 3 แปลง จำนวน 195 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน .05  ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 132 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 68.2 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.10 ปี สถานภาพสมรสร้อยละ 48.5 จบการศึกษาประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.23 คนจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.83 คน มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 9.61 ไร่ มีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 7,568.18 บาท/ไร่ รายได้ครัวเรือนจากภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 59,894.32 บาท รายได้รวมทั้งหมดในครัวเรือนเฉลี่ย 78,398.48 บาท ร้อยละ 78.0 ใช้แหล่งเงินทุนส่วนตัว ร้อยละ 61.4  กู้จาก ธกส. 2) เกษตรกร ร้อยละ 67.4 มีความรู้ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 13.44  คะแนนซึ่งเกษตรกรจำนวนมากที่สุดร้อยละ 99.2 มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์มันสำปะหลังที่ทางราชการแนะนำให้ปลูก 3) ด้านสภาพการผลิต เกษตรกรร้อยละ 74.2 มีการปฏิบัติในการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก และมีระดับการปฏิบัติเฉลี่ย 16.20 คะแนน โดยเกษตรกรร้อยละ 96.2 มีเตรียมพื้นที่โดยไถพรวน 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ส่วนด้านสภาพการตลาด พบว่า เกษตรกรทุกราย มีคนมารับซื้อมันสำปะหลัง 4) เกษตรกรร้อยละ 95.5 ได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม และมีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความต้องการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ รับข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น ยูทูป และ 5) เกษตรกร ร้อยละ 43.9 มีปัญหาการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ไม่ต่อเนื่อง ไม่ได้กำหนดแผนในการประชุมกลุ่มที่แน่นอน และไม่มีแหล่งดูงานในพื้นที่  และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ผ่านทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช บ่อบาดาล และโซล่าเซลล์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมันสำปะหลัง--ไทย--ร้อยเอ็ด--การผลิตth_TH
dc.subjectมันสำปะหลัง--ไทย--ร้อยเอ็ด--การตลาดth_TH
dc.titleการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดth_TH
dc.title.alternativeExtension of cassava production and marketing by members of cassava collaborative farming, Phonthong District, Roi Et Provinceen_US
dc.title.alternativeBorn digitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) basic social and economic conditions of  cassava collaborative farming farmers 2) knowledge about cassava production and marketing of  cassava collaborative farming farmers 3) cassava production and marketing conditions of cassava collaborative farming farmers  4) the receiving of extension and needs for the extension of cassava production and marketing of cassava collaborative farming farmers and 5) problems and suggestions regarding the extension of cassava production and marketing. The population of the study was 195 farmers who were members of 3 cassava collaborative farmings in Phonthong district, Roi et Province. The sample size of 132 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 and simple random sampling method. Data were collected by conducting interview. Statistics used for data analysis were such as percentage, frequency, mean, minimum value, maximum value, standard deviation, and ranking. The results of the research revealed that 1) 68.2% of farmers were female with the average age of 46.10 years and married. 48.5% of them completed primary school education with the average member in the household of 4.23 people. The average number of labor in the household was 2.83 people, the average cassava production area was 9.61 Rai, the average cost of cassava production was 7,568.18 Baht/Rai, the average household income from agricultural sector was 59,894.32 Baht, and the total income within the household was 78,398.48 Baht. 78.0% of them used their personal capital and 61.4% took loans from BAAC.  2) 67.4% of farmers had knowledge at the highest level with the average knowledge score of 13.44 points. 99.2% of farmers had knowledge about cassava type which the government recommended to plant. 3)In regards to the production condition, 74.2% of the farmers practiced in cassava production at the high level and had the average practice level of 16.20 points. 96.2% of the farmers prepared the land by tillaging for 2-3 times with the depth of 20-30 centimeters. For the marketing condition, it showed that every farmer had the buyers who came to buy the cassava.4) 95.5% of the farmers received the extension in the form of group meeting and their needs, overall, were at the high level with the highest need on information technology media through receiving data from YouTube application. 5) 43.9% of the farmers had the problems with the inconsistent visitation from the officer s, had no concrete pre-determined plan in the group meeting, and had no source of area for field trip.  Farmers suggested that the related officers should transfer the knowledge through information technology media or other applications which related to the support of production factors such as fertilizer, pesticide, artesian well, and solar cell.en_US
dc.contributor.coadvisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2629001062.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.