Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13534
Title: | การส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Extension of cassava production and marketing by members of cassava collaborative farming, Phonthong District, Roi Et Province Born digital |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ เศรษฐา แสงทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มันสำปะหลัง--ไทย--ร้อยเอ็ด--การผลิต มันสำปะหลัง--ไทย--ร้อยเอ็ด--การตลาด |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 3) สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกของกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมด 3 แปลง จำนวน 195 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน .05 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 132 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 68.2 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.10 ปี สถานภาพสมรสร้อยละ 48.5 จบการศึกษาประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.23 คนจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.83 คน มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 9.61 ไร่ มีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 7,568.18 บาท/ไร่ รายได้ครัวเรือนจากภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 59,894.32 บาท รายได้รวมทั้งหมดในครัวเรือนเฉลี่ย 78,398.48 บาท ร้อยละ 78.0 ใช้แหล่งเงินทุนส่วนตัว ร้อยละ 61.4 กู้จาก ธกส. 2) เกษตรกร ร้อยละ 67.4 มีความรู้ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 13.44 คะแนนซึ่งเกษตรกรจำนวนมากที่สุดร้อยละ 99.2 มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์มันสำปะหลังที่ทางราชการแนะนำให้ปลูก 3) ด้านสภาพการผลิต เกษตรกรร้อยละ 74.2 มีการปฏิบัติในการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก และมีระดับการปฏิบัติเฉลี่ย 16.20 คะแนน โดยเกษตรกรร้อยละ 96.2 มีเตรียมพื้นที่โดยไถพรวน 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ส่วนด้านสภาพการตลาด พบว่า เกษตรกรทุกราย มีคนมารับซื้อมันสำปะหลัง 4) เกษตรกรร้อยละ 95.5 ได้รับการส่งเสริมด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม และมีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีความต้องการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ รับข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น ยูทูป และ 5) เกษตรกร ร้อยละ 43.9 มีปัญหาการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ไม่ต่อเนื่อง ไม่ได้กำหนดแผนในการประชุมกลุ่มที่แน่นอน และไม่มีแหล่งดูงานในพื้นที่ และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ผ่านทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช บ่อบาดาล และโซล่าเซลล์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13534 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2629001062.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.