Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13535
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
Other Titles: Adoption of longan production efficiency enhancement technology by farmers in Tha Khum Ngoen Sub-district Mae Tha District, Lamphun Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
วรวิทย์ ดำรักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ลำไย--ไทย--ลำพูน--การผลิต
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 3) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 4) การยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเป็นผู้ปลูกลำไย ปี 2563 กับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2,789 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้กลุ่มตัวอย่าง 148 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.41 ปี จบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.29 คน ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีหนี้สินเฉลี่ย 138,947.36 บาท/ปี มีรายได้จากการผลิตลำไยเฉลี่ย 7,064.59 บาท/ไร่ 2) สภาพการผลิตลำไย พบว่า เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ย 1,183.78 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 4,328.38 บาท/ไร่ พื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 5.91 ไร่ ปลูกลำไยพันธุ์อีดอเป็นหลัก ปลูก 25 ต้น/ไร่ อายุต้นเฉลี่ย 19.40 ปี นิยมปลูกระยะ 8x8 เมตร จ้างแรงงานเฉลี่ย 10.95 คน และมีประสบการณ์ในการผลิตลำไยเฉลี่ย 20.16 ปี 3) เกษตรกรร้อยละ 79.7 มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้ด้านการให้น้ำลำไยมากที่สุด รองลงมา คือด้านการตัดแต่งกิ่งลำไย มีการเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย ผ่านสื่อบุคคล คือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด รองลงมาเป็น สื่อกิจกรรม คือการอบรม/สัมมนา 4) เกษตรกรร้อยละ 43.9 มีการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยในระดับปานกลาง โดยยอมรับเทคโนโลยีด้านการชักนำการออกดอกมากที่สุด รองลงมา เป็นเทคโนโลยีด้านการตัดแต่งกิ่งลำไย และเทคโนโลยีด้านการให้น้ำลำไย ตามลำดับ มีการยอมรับไปปฏิบัติน้อยที่สุดในเทคโนโลยีด้านการตัดแต่งช่อผล 5) เกษตรกรมีปัญหาเนื้อหาความรู้ไม่ตรงกับความต้องการเรียนรู้ของเกษตรกรมากที่สุด รองลงมา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเยี่ยมเยียนเกษตรกรไม่ทั่วถึง โดยส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริม ให้ส่งเสริมเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ รองลงมา เสนอแนะให้ใช้วิธีการส่งเสริมที่มีความหลากหลาย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13535
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2629003167.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.