Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13538
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์th_TH
dc.contributor.authorเฉลิมพล บุตรศรีth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:57:11Z-
dc.date.available2025-01-24T08:57:11Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13538en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 2) สภาพการจัดการศัตรูพืชของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 3) กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 4) ปัญหา เกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 5) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และ การจัดเวทีสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุสมาชิกเฉลี่ย 57.43 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 6.43 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.53 คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ย 3.03 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 125,833.33 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย จำนวน 21.08 ไร่ เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย จำนวน 19.67 ไร่สมาชิกมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยสมาชิก มีระดับความรู้ ความสามารถในเรื่องการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์มากที่สุด 2) สมาชิกสามารถจัดการโรคแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นได้ สามารถผลิตชีวภัณฑ์ใช้เองอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การผลิตขยายชีวภัณฑ์ได้ 3) สมาชิกมีกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มด้านองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 4) สมาชิกมีระดับปัญหามากที่สุด คือ การจัดการศัตรูพืชและการให้บริการ รองลงมาคือ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย 5) แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ได้แก่ การจัดทำปฏิทินการปลูกพืชที่เป็นพืชหลักของศูนย์ และบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา--การบริหารth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for development of operation of community pest management center in Klan Tha Sub-district Mueang District, Buri Ram Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the basic social and economic conditions of the members of Community Pest Management Center in Klan Tha Sub-District; 2) the center’s pest management conditions; 3) their process of pest management; 4) problems regarding the operations of the center; 5) suggestions regarding the development guidelines in the operations of the center. This research was a survey research. The population of this study included 30 members of Klan Tha Sub-District Community Pest Management Center in Mueang Buri Ram District, Buri Ram Province. The study was done with the entire population. Data were collected by conducting interviews and organizing a focus group. Data were then analyzed by using frequency, percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, and content analysis. The results of the research showed that 1) Most of the members were female with an average membership age of 57.43 years old, completed primary school level 4, and were members of the center for 6.43 years on average. The average number of household members was 4.53 people, and 3.03 of them on average did agricultural work. The average household income was 125,833.33 baht, and the average agricultural area was 21.08 rai. Farmers had an average rice production area of 19.67 rai. The members had a moderate level of knowledge about community pest management centers. Their highest level of knowledge was on the production of biological substances. 2) Members were able to manage basic pest control, were able to self-produce biological substances effectively, and became instructors in transferring knowledge regarding biological substance production. 3) Members had a process in group management regarding the components and basic infrastructure at a high level. 4) Members had the highest level of problems with pest management and providing related services. Their second problem was related to the creation and connection of networks. 5) Development guidelines for the community pest management center included creating a plant production calendar based on the center’s main crop and with the integration of the cooperating sectors.en_US
dc.contributor.coadvisorสุนันท์ สีสังข์th_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2639002399.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.