Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13538
Title: แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Guidelines for development of operation of community pest management center in Klan Tha Sub-district Mueang District, Buri Ram Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์
เฉลิมพล บุตรศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนันท์ สีสังข์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา--การบริหาร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 2) สภาพการจัดการศัตรูพืชของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 3) กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 4) ปัญหา เกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา 5) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และ การจัดเวทีสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุสมาชิกเฉลี่ย 57.43 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 6.43 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.53 คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ย 3.03 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 125,833.33 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย จำนวน 21.08 ไร่ เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย จำนวน 19.67 ไร่สมาชิกมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยสมาชิก มีระดับความรู้ ความสามารถในเรื่องการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์มากที่สุด 2) สมาชิกสามารถจัดการโรคแมลงศัตรูพืชเบื้องต้นได้ สามารถผลิตชีวภัณฑ์ใช้เองอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การผลิตขยายชีวภัณฑ์ได้ 3) สมาชิกมีกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มด้านองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 4) สมาชิกมีระดับปัญหามากที่สุด คือ การจัดการศัตรูพืชและการให้บริการ รองลงมาคือ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย 5) แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ได้แก่ การจัดทำปฏิทินการปลูกพืชที่เป็นพืชหลักของศูนย์ และบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13538
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2639002399.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.