Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13539
Title: | สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวของเกษตรกร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Coconut production situation and extension needs of farmers in Klongwhale Sub-district, Mueang District, Prachuap Khiri Khan Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์ ธนู แก้วสา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มะพร้าว--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์--การผลิต |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในประเด็นต่อไปนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตและการตลาดมะพร้าว 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวคุณภาพ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวคุณภาพ และ 5) ปัญหาของเกษตรกรและข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวแบบครบวงจร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ เกษตรกรในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมะพร้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2564 จำนวน 705 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 158 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 46.1 ปี เกือบทั้งหมดจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า ทั้งหมดมีอาชีพหลักคือการทำสวนไม้ผล มีประสบการณ์ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 13.6 ปี 2) ขนาดพื้นที่ปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 27.9 ไร่ ใช้แรงงานเฉลี่ย 1.9 คน พื้นที่ราบและเป็นดินทรายหรือร่วนปนทราย ปลูกพันธุ์พื้นเมือง เกษตรกรประมาณ 2 ใน 3 ไม่มีการให้น้ำและไม่ใส่ปุ๋ย ส่วนใหญ่เก็บผลมะพร้าวทุก 45 วันโดยผู้รับซื้อเป็นผู้เก็บและจ้างแรงงาน ผลผลิต 450 – 500 ผล/ไร่/ครั้ง ราคาจำหน่าย 7 – 10 บาท/ผล โดยพ่อค้ามารับซื้อที่สวนและขายเองบางส่วนผ่านช่องทางอื่น 3) เกษตรกรทั้งหมดมีความรู้ในเรื่องการคัดเลือกพื้นที่ปลูก กระบวนการปลูก การดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและลักษณะดินที่เหมาะสม การให้น้ำและปุ๋ย 4) เกษตรกรมีความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการตลาดมะพร้าวระดับมากที่สุด ได้แก่ การวางแผนการผลิต การจัดตั้งสหกรณเพื่อรับซื้อผลผลิต และการเชื่อมโยงตลาดกับโรงงานแปรรูปผลผลิต ระดับมากเกี่ยวกับ ความรู้ด้านมาตรฐานการแปรรูป การรวมกลุ่ม/สร้างเครือข่ายด้านการแปรรูป และการสนับสนุนปัจจัยด้านการแปรรูป ส่วนด้านอื่น ๆ มีความต้องการระดับปานกลาง 5) เกษตรกรพบปัญหาในการผลิตมะพร้าวในระดับมากเกือบทุกประเด็นทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยมีข้อเสนอแนวทาง โดยให้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตมะพร้าวคุณภาพ ปรับปรุงอุปกรณ์การผลิตและการเก็บเกี่ยวให้ทันสมัย การจัดทำเครือข่ายด้านการผลิตและตลาดมะพร้าวคุณภาพ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานกับแหล่งผลิตมะพร้าวคุณภาพที่ประสบผลสำเร็จ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13539 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2639002464.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.