Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13541
Title: แนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติตาพระยา
Other Titles: Enhancing performance guideline of patrol staff for Ta Phraya National Park
Authors: อิงอร ไชยเยศ
สุทธิวัฒน์ สุสิงห์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ประทีป ด้วงแค
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน 2) เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน และ 4) เสนอแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยางานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติตาพระยา จำนวน 60 คน โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุงาน สถานะการจ้างงาน และการศึกษา กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯ จากฐานข้อมูล SMART ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเดินลาดตระเวน ด้านการตรวจพบปัจจัยนิเวศ และด้านการตรวจพบปัจจัยคุกคาม เป็นเวลา 5 ปี (ตุลาคม 2559-กันยายน 2564) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ รวมทั้งประยุกต์ใช้ 9-Box Model เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานประกอบการพิจารณาเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯ ส่วนใหญ่อายุ 40-49 ปี (ร้อยละ 38) อายุงานน้อยกว่า 5 ปี(ร้อยละ 50) สถานะการจ้างงานเป็นบุคคลภายนอก (ร้อยละ 60) และการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 56) ภายในเวลา 5 ปี เจ้าหน้าที่ 60 คน เดินลาดตระเวนรวม 9,386 ครั้ง จำนวนวันที่เดินลาดตระเวนรวม 23,145 วัน ระยะทางรวม 176,519.28 กิโลเมตร พบปัจจัยนิเวศ ทั้งหมด 20,446 ครั้งได้แก่ ต้นไม้ 374 ครั้ง พืชอาหารสัตว์ 288 ครั้ง โป่ง 368 ครั้ง แหล่งน้ำ 132 ครั้ง เห็นสัตว์ป่า 394 ครั้ง ร่องรอยสัตว์ป่า 18,890 ครั้ง พบปัจจัยคุกคามทั้งหมด 1,538 ครั้ง ได้แก่ การล่าสัตว์ 29 ครั้ง การทำไม้ 248 ครั้ง ปางพัก ห้าง 226 ครั้ง กับดักสัตว์ 670 ครั้ง ปืน เครื่องกระสุน 248 ครั้ง และอุปกรณ์ตัดไม้ 117 ครั้ง 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวน พบว่าเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการเดินลาดตระเวนสูงสุด คือ อายุ 20-29 ปี อายุงานน้อยกว่า 5 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการตรวจพบปัจจัยนิเวศสูงสุดคือ อายุ 20-29 ปี อายุงาน 5-9 ปี เป็นบุคคลภายนอกฯ ระดับการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษา เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการตรวจพบปัจจัยคุกคามสูงสุดคือ อายุ 20-29 ปี อายุงานน้อยกว่า 5 ปี เป็นพนักงานจ้างเหมาเอกชน ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น 3) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วย 9-Box model พบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพการลาดตระเวนรวมทั้งสามด้านระดับสูง (High; H) พบระดับปานกลาง (Median; M) 7 คน (M1=5 คน, M2=1 คน, M3=1 คน) และระดับจำกัด (Limit; L) 49 คน (L1=14 คน, L2=15 คน, L3=20 คน) และจากผลจากการศึกษานี้สามารถเสนอ 4) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานลาดตระเวนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางคือ (1) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพรายบุคคล โดยการจัดการฝึกอบรม และให้การศึกษาเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนแต่ละคน ในด้านที่มีประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับจำกัด (L) เพื่อสร้างเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านนั้นๆ ได้ในอนาคต และ (2) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพชุดลาดตระเวน 4 ด้าน คือ ชุดลาดตระเวนในอุดมคติ เพื่อประสิทธิภาพในการลาดตระเวนสูงสุด ชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานเป็นชุดนำทาง ชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานด้านวิชาการ และชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานด้านอนุรักษ์ และป้องกัน เพื่อการคุ้มครองพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติตาพระยาอย่างยั่งยืนต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13541
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2639002548.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.