Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13541
Title: | Enhancing Performance Guideline of Patrol Staff for Ta Phraya National Park แนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติตาพระยา |
Authors: | Suttiwat Susing สุทธิวัฒน์ สุสิงห์ Aingorn Chaiyes อิงอร ไชยเยศ Sukhothai Thammathirat Open University Aingorn Chaiyes อิงอร ไชยเยศ [email protected] [email protected] |
Keywords: | เจ้าหน้าที่ลาดตระเวน ปัจจัยส่วนบุคคล การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ อุทยานแห่งชาติตาพระยา Patrol Staff Personal Factors Smart Patrol Ta Praya National Park |
Issue Date: | 20 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | This research aims to 1) study the personal factors and performance of patrol officers to protect areas 2) compare between personal factors and patrol staffs' performance in patrolling 3) analyze the efficiency of patrolling operations to protect the area of patrol staffs, and 4) propose guidelines for enhancing the efficiency of patrolling operations to protect the area of Ta Phraya National Park.This research is a quantitative research on the population of 60 Ta Phraya National Park patrol staffs by studying personal factors such as age, working years, employment status, and education with the performance of patrol officers from the SMART database of the Department of National Parks, Wildlife and Plant in 3 aspects: patrolling, detecting ecological factors, and detecting threatening factors from October 2016 to September 2021. The statistics used to analyze the data are descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and quantile deviation, as well as applying the 9-Box Model to analyze the performance of patrol officers for consideration in order to recommend ways to strengthen the efficiency of patrol staffs' performance.The research results found that 1) most patrol staffs are 40-49 years old (38%), have less than 5 years of service (50%), have an outsider employment status (60%), and have a high school education (56%). Within 5 years, 60 staffs patrolled a total of 9,386 times in a total number of patrolling days at 23,145 days with the total distance of 176,519.28 kilometers. Ecological factors were found a total of 20,446 times, including trees 374 times, fodder plants 288 times, mineral lick 368 times, water sources 132 times, wild animals seen 394 times, and wild animal traces 18,890 times. Moreover, the patrol staffs also found threats 1,538 times including hunting 29 times, logging 248 times, campsites 226 times, animal traps 670 times, guns & ammunition 248 times, and logging equipment 117 times. 2) When comparing personal factors and patrol performance, it was found that patrol staffs with the highest patrol performance were 20-29 years old with less than 5 years of service and had primary school education. The patrol staffs who are most effective in detecting ecological factors are 20-29 years old with 5-9 years of service, are outsiders, and have an education level not higher than secondary school. For detecting threats, the patrol staffs who are most effective in this area are 20-29 years old, with less than 5 years of work experience, and are private contractors with a lower secondary education level. 3) The results of the analysis of operational efficiency using the 9-Box model found that there were no patrol staffs with patrol efficiency in all three areas at a high level (High; H), but found only at a medium level (Median; M) 7 people (M1=5 people, M2=1 person, M3=1 person) and limited level (Limit; L) 49 people (L1=14 people, L2=15 people, L3=20 people). Furthermore, from the results of this study, 4) guidelines for enhancing the efficiency of patrol operations can be identified into 2 approaches: (1) guidelines for enhancing individual efficiency by organizing training and providing additional education to each patrol staff in the field whose work efficiency is at a limited level (L) in order to promote the development of work efficiency in that area in the future and (2) guidelines for enhancing the efficiency of patrol operation in 4 aspects, namely the ideal patrol operation for maximum patrol efficiency: a special unit operating as a navigation unit, a special unit for academic work, and a special unit to carry out conservation and protection work to protect the area and sustain conservation of the natural resources of Ta Phraya National Park. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน 2) เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน และ4) เสนอแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยางานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติตาพระยา จำนวน 60 คน โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุงาน สถานะการจ้างงาน และการศึกษา กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯ จากฐานข้อมูล SMART ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเดินลาดตระเวน ด้านการตรวจพบปัจจัยนิเวศ และด้านการตรวจพบปัจจัยคุกคาม เป็นเวลา 5 ปี (ตุลาคม 2559-กันยายน 2564) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ รวมทั้งประยุกต์ใช้ 9-Box Model เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานประกอบการพิจารณาเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนฯ ส่วนใหญ่อายุ 40-49 ปี (ร้อยละ 38) อายุงานน้อยกว่า 5 ปี(ร้อยละ 50) สถานะการจ้างงานเป็นบุคคลภายนอก (ร้อยละ 60) และการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 56) ภายในเวลา 5 ปี เจ้าหน้าที่ 60 คน เดินลาดตระเวนรวม 9,386 ครั้ง จำนวนวันที่เดินลาดตระเวนรวม 23,145 วัน ระยะทางรวม 176,519.28 กิโลเมตร พบปัจจัยนิเวศ ทั้งหมด 20,446 ครั้งได้แก่ ต้นไม้ 374 ครั้ง พืชอาหารสัตว์ 288 ครั้ง โป่ง 368 ครั้ง แหล่งน้ำ 132 ครั้ง เห็นสัตว์ป่า 394 ครั้ง ร่องรอยสัตว์ป่า 18,890 ครั้ง พบปัจจัยคุกคามทั้งหมด 1,538 ครั้ง ได้แก่ การล่าสัตว์ 29 ครั้ง การทำไม้ 248 ครั้ง ปางพัก ห้าง 226 ครั้ง กับดักสัตว์ 670 ครั้ง ปืน เครื่องกระสุน 248 ครั้ง และอุปกรณ์ตัดไม้ 117 ครั้ง 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับผลการปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวน พบว่าเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการเดินลาดตระเวนสูงสุด คือ อายุ 20-29 ปี อายุงานน้อยกว่า 5 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการตรวจพบปัจจัยนิเวศสูงสุดคือ อายุ 20-29 ปี อายุงาน 5-9 ปี เป็นบุคคลภายนอกฯ ระดับการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษา เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการตรวจพบปัจจัยคุกคามสูงสุดคือ อายุ 20-29 ปี อายุงานน้อยกว่า 5 ปี เป็นพนักงานจ้างเหมาเอกชน ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น 3) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วย 9-Box model พบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนที่มีประสิทธิภาพการลาดตระเวนรวมทั้งสามด้านระดับสูง (High; H) พบระดับปานกลาง (Median; M) 7 คน (M1=5 คน, M2=1 คน, M3=1 คน) และระดับจำกัด (Limit; L) 49 คน (L1=14 คน, L2=15 คน, L3=20 คน) และจากผลจากการศึกษานี้สามารถเสนอ 4) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานลาดตระเวนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางคือ (1) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพรายบุคคล โดยการจัดการฝึกอบรม และให้การศึกษาเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนแต่ละคน ในด้านที่มีประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับจำกัด (L) เพื่อสร้างเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านนั้นๆ ได้ในอนาคต และ (2) แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพชุดลาดตระเวน 4 ด้าน คือ ชุดลาดตระเวนในอุดมคติ เพื่อประสิทธิภาพในการลาดตระเวนสูงสุด ชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานเป็นชุดนำทาง ชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานด้านวิชาการ และชุดลาดตระเวนพิเศษสำหรับปฏิบัติงานด้านอนุรักษ์ และป้องกัน เพื่อการคุ้มครองพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติตาพระยาอย่างยั่งยืนต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13541 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2639002548.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.