กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13543
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตถั่วเขียวผิวมันโดยเกษตรกรในอำเภอสรรคบุรีจังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of mung bean production by farmers in Sankhaburi District, Chainat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนาลัย วิริยะสุธี
นุจรีย์ โตเรือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
ถั่วเขียว--ไทย--ชัยนาท--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาในการผลิตถั่วเขียวผิวมันของเกษตรกรอำเภอสรรคบุรี 2) การจัดการผลิตถั่วเขียวผิวมันของเกษตรกรอำเภอสรรคบุรี 3) แนวทางการจัดการการผลิตถั่วเขียวผิวมันของเกษตรกรอำเภอสรรคบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวผิวมันในพื้นที่อำเภอสรรคบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 44 ราย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เกษตรกร จำนวน 4 ราย ตัวแทนภาครัฐ จำนวน 4 ราย และตัวแทนภาคเอกชน จำนวน 2 ราย โดยทำการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาที่สำคัญในการผลิตถั่วเขียวผิวมันของเกษตรกร ได้แก่ (1) ต้นทุนการผลิตสูงจากปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  (2) การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชปริมาณมากและหลายชนิด (3) การระบาดของโรคและแมลงศัตรูในพื้นที่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ถั่วเขียวผิวมัน ใช้พันธุ์ชัยนาท 72 และใช้เมล็ดพันธุ์อัตราเฉลี่ย 11-15 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้วิธีการหว่าน และอาศัยน้ำฝนในการผลิตเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 5-10 ครั้งต่อฤดูการผลิต โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช และแมลงศัตรูพืชหลายชนิด และใช้ปุ๋ยเกล็ดผสมฉีดพ่นในครั้งเดียวกัน และเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยเครื่องจักร โดยผลผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ 3) แนวทางการจัดการการผลิตถั่วเขียวผิวมันได้แก่ (1) ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูกาลผลิตถัดไป หรือใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ (2) ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (3) ควรสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อสำรวจศัตรูพืชและความผิดปกติของต้นถั่วเขียวผิวมัน (4) ควรเรียงลำดับการผสมสารเคมีเกษตรให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และ (5) ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13543
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649000128.pdf3.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น