กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13545
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development guideline for cassava variety resistance of cassava mosaic disease management of farmer in Kaeng Sian Sub-distric, Mueang Kanchnaburi District, Kanchnaburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จรรยา สิงห์คำ สาวิตรี เล็กอิ่ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์ มันสำปะหลัง--พันธุ์ มันสำปะหลัง--ไทย--กาญจนบุรี--การปลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เรื่องพันธุ์มันสำปะหลังและโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) การจัดการการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร 5) แนวทางการพัฒนาการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกรการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณมีประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูก มันสำปะหลังในตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรีที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ในปีการผลิต 2564/65 จำนวน 255 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 156 ราย โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 12.17 ปี 2) เกษตรกรรู้จักพันธุ์มันสำปะหลัง 3 อันดับแรก ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5, พันธุ์เกล็ดมังกร และพันธุ์ระยอง 72 เกษตรกรมีความรู้เรื่องพันธุ์มันสำปะหลังอยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะเรื่องลักษณะพันธุ์มันสำปะหลัง ขณะที่ความรู้เรื่องโรคใบด่างมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก คือ โรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส Cassava Mosaic Virus มีอาการใบด่างสีเหลือง ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ใช้ท่อนพันธุ์จากแปลงตนเอง ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน มีการป้องกันกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยการใช้สารเคมีและวิธีเขตกรรม เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ย 3,464.74 กิโลกรัม/ไร่ 4) ปัญหาในการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร คือ ขาดแคลนท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง แปลงขยายพันธุ์ไม่สะอาด ไม่มีการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันโรคก่อนปลูก และการเตรียมพื้นที่ปลูกไม่เหมาะสม 5) แนวทางการพัฒนาการจัดการพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ เกษตรกรใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรค ได้แก่ พันธุ์ระยอง 72 ห้วยบง 60 และเกษตรศาสตร์ 50 เกษตรกรจัดทำแปลงพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดของตนเองเพื่อใช้ปลูกภายในชุมชน และหน่วยงานภาครัฐพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนับสนุนท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังต้านทานโรคให้แก่เกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13545 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649000276.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น