Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13548
Title: | แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดินของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ |
Other Titles: | Extension guidelines for soil biotechnology usage of farmers in paddy collaborative farming group in Na Nong Phai Subdistrict, Chumphon Buri District, Surin Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง วรรณวิษา คามนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ดิน--เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร--ไทย--สุรินทร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ความรู้และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดินของเกษตรกร 4) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดินของเกษตรกรและ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดินของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่จำนวนทั้งหมด 133 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 56.14 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 2.97 คน ร้อยละ 90 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม อาชีพหลักคือทำนา รายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 7,733.0/ปี 2) สภาพพื้นที่ในการปลูกข้าวส่วนมากเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ดินที่ปลูกข้าวเป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 91 การเตรียมดิน ร้อยละ 33.3 มีการเตรียมดินแบบไถดะและไถแปร ร้อยละ 52.0 ข้าวพันธุ์ กข 15 3) เกษตรกร ร้อยละ 66.0 มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางดินในระดับมากที่สุด มีการใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 95.0 การใช้น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในการจัดการดินติดต่อกันทุกปี ร้อยละ 81.0 4) แนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดินของเกษตรกรและช่องทางการส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน ด้านระดับความรู้ที่ได้รับของ พด.12 อยู่ในระดับน้อยที่สุด เฉลี่ย 2.50 นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความรู้ที่ต้องการอยู่ในระดับมากของทุกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสาธิต ทัศนศึกษา มีความต้องการระดับมาก 5) มีเกษตรกรเพียงบางส่วนที่มีปัญหาบางประการ ได้แก่ การขาดความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้วิธีการใช้สาธิตให้เกษตรกรได้ปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะ และเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางดินผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสา |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13548 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649000482.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.