กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13559
ชื่อเรื่อง: | Extension Guidelines of Robusta Coffee Production for Farmers in Maecharim District, Nan Province แนวทางการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านแนวทางการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ARTHIT CHANON อาทิตย์ จันทร์อ้น jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง Sukhothai Thammathirat Open University jinda khlibtong จินดา ขลิบทอง [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | แนวทางการส่งเสริม การผลิตกาแฟโรบัสต้า Extension guidelines Robusta coffee production |
วันที่เผยแพร่: | 20 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study 1) social and economic conditions 2) Robusta coffee production conditions 3) production according to good agricultural practices for Robusta coffee 4) problems in Robusta coffee production of farmers and 5) needs and extension guidelines regarding Robusta coffee production. This research was survey research. The population of this study was 135 Robusta coffee farmers in Maecharim district, Nan province. The study was done with the entire population with no sampling. Tool used for data collection was interview form. Data were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, maximum value, minimum value, mean, standard deviation, and ranking. The results of the research found that 1) 51.9% of farmers were male with the average age of 59.66 years old, completed primary school education, had the average labor of 3.00 people, had the average experience in Robusta coffee production of 8.37 years, received the average training on Robusta coffee production of 2.39 time/year from district agricultural office, 36.9% held the average farming area of 17.60 Rai, had the average Robusta coffee production area of 2.24 Rai, and 66.43% did not take loan in their farming profession. 2) For Robusta coffee production conditions, most of the farmers got the seedlings from self-collection, used the reproductive method of seed planting, grew the plants outdoor with the distance of 3x3 m2 , used rain in the cultivation process, applied chemical fertilizer in coffee production, did not apply chemical substances in disease and pest control, distributed Robusta coffee in the form of fresh coffee beans, had the average productivity of 431.98 kilogram/Rai, got the average product price of 17.36 Baht/kilogram. 3) Regarding the production according to good agricultural practices for Robusta coffee, the farmers practiced at the highest level on the aspects of water sources, planting area, harvest and post harvest practices. They practiced at the low level on data recording. 4) The problems in Robusta coffee production of farmers regarding the Robusta coffee production, were at the highest level on the issues such as water quantity in agricultural usage, climate variability, and high cost of production costs. 5) Regarding to the needs for the extension of Robusta coffee production ,farmers needed knowledge at the highest level on adding value through product processing. The channel which farmers needed for extension at the high level was personal media. They needed the extension methods at the high level through demonstration/practice and field trips. For the extension guidelines for the extensionists, there should be the promotion of production according to the age of Robusta coffee as per the production calendar through the channel of personal media, visitation, follow-up with suggestions. The methods used for extension included training by using demonstration, practice, and field trips. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตกาแฟ โรบัสต้า 3) การผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟโรบัสต้า 4) ปัญหาในการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร และ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน จำนวน 135 รายศึกษาทั้งหมดไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.9 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.66 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานเฉลี่ย 3.00 คน มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟโรบัสต้า เฉลี่ย 8.37 ปี ได้รับการอบรมการปลูกกาแฟโรบัสต้า เฉลี่ย 2.39 ครั้งต่อปี จากสำนักงานเกษตรอำเภอ ร้อยละ 36.9 ถือครองพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 17.60 ไร่ พื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า เฉลี่ย 2.24 ไร่ ร้อยละ 66.43 ไม่กู้ยืมเงินในการประกอบอาชีพ 2) สภาพการผลิตกาแฟโรบัสต้าเกษตรกรส่วนใหญ่ได้พันธุ์มาจากการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปลูกกลางแจ้ง ระยะปลูก 3x3 เมตร ใช้น้ำฝนในการเพาะปลูก ใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตกาแฟ ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช จำหน่ายกาแฟโรบัสต้ารูปแบบเมล็ดสด ผลผลิตเฉลี่ย 431.98 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 17.36 บาท ต่อกิโลกรัม 3) การผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟโรบัสต้า เกษตรกรปฏิบัติในระดับมากที่สุด ได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังจากเก็บเกี่ยว ปฏิบัติในระดับน้อยในการบันทึกข้อมูล 4) ปัญหาในการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร ด้านการผลิตกาแฟโรบัสต้า ปัญหาในระดับมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณน้ำที่ใช้ทำการเกษตร ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้า เกษตรกรมีความต้องการความรู้ระดับมากที่สุด เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการแปรรูป ช่องทางที่เกษตรกรต้องการส่งเสริมในระดับมาก ได้แก่ สื่อบุคคล ต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมาก ด้วยการสาธิต/ฝึกปฏิบัติ และศึกษาดูงาน แนวทางการส่งเสริม นักส่งเสริม ส่งเสริมการผลิตตามช่วงอายุของกาแฟโรบัสต้าตามปฏิทินการผลิต ผ่านช่องทางสื่อบุคล การเยี่ยมเยียน ติดตามให้คำแนะนำ ใช้วิธีการส่งเสริม การฝึกอบรมโดยการสาธิต ฝึกปฏิบัติ และการศึกษาดูงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13559 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649001324.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น