Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13562
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSATINEE PHOKLEEen
dc.contributorสาธินี โพธิ์คลี่th
dc.contributor.advisorChalermsak Toomhirunen
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญth
dc.contributor.otherSukhothai Thammathirat Open Universityen
dc.date.accessioned2025-01-24T08:57:15Z-
dc.date.available2025-01-24T08:57:15Z-
dc.date.created2025
dc.date.issued13/1/2025
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13562-
dc.description.abstractThis research was survey research. The population is vegetable farmers who are registered with the Department of Agricultural Extension in 2021/22, totaling 117 people. The sample size was determined using Taro Yamane's formula with an error of 0.03, resulting in a sample of 106 people. Simple random sampling was used. Data was analyzed using frequency distribution, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation and content analysis.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปและสภาพการผลิตผัก 2) ความสำคัญและการปฏิบัติการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และ 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร             การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกผัก มีการขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564/65 จำนวน 117 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.03 ได้ตัวอย่าง จำนวน 106 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา             ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 58.14 ปี จบการศึกษาประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรการเกษตร สภาพการผลิตพบว่า เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์ มีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในระดับมาก คือ วิธีเขตกรรม และมีการปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 2 ประเด็น คือ วิธีเขตกรรม และการใช้สารเคมี 3) ปัญหาในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือ ด้านการจัดการผลผลิต ได้แก่ ดินขาดความสมบูรณ์ โรคและแมลงศัตรูพืช และด้านค่าใช้จ่ายสำหรับการเพาะปลูก ได้แก่ ต้นทุนการผลิตที่สูง ซึ่งทำให้เกษตรกรไม่มีการบริหารจัดการแบบผสมผสาน 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้ด้านโรคและแมลงศัตรูพืชอยู่ในระดับมาก เกษตรกรได้รับความรู้และความต้องการความรู้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ 0.05 เกษตรกรมีความต้องการด้านนักส่งเสริม (สื่อบุคคล) จากนักส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก และเกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริม ในรูปแบบการเยี่ยมเยียนของนักส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก ทั้งนี้เกษตรกรได้รับวิธีการส่งเสริมและความต้องการวิธีการส่งเสริมที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ 0.05  5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยการใช้กรอบแนวคิด SMCR โดยผู้ส่งสาร คือ นักส่งเสริม ข่าวสาร คือ ความรู้ด้านโรคและแมลง ช่องทางการสื่อสาร คือ วิธีการส่งเสริมโดยการเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำ และผู้รับสาร คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักในอำเภอเกาะจันทร์ และแนวทางการจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกโดยเลือกส่งเสริมวิธีการจัดการศัตรูพืช ดังนี้ การใช้วิธีเขตกรรม วิธีกล ชีววิธี และการใช้สารธรรมชาติควบคู่กัน และหากพบการทำลายรุนแรง สามารถใช้วิธีสารเคมีอย่างปลอดภัยสลับกับการใช้วิธีอื่นth
dc.language.isoth
dc.publisherSukhothai Thammathirat Open University
dc.rightsSukhothai Thammathirat Open University
dc.subjectการส่งเสริม การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เกษตรกรผู้ปลูกผักth
dc.subjectExtensionen
dc.subjectIntegrated Pest Managementen
dc.subjectVegetable farmersen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.subject.classificationAgriculture,forestry and fishingen
dc.titleExtension of Integrated Pest Management of Vegetable Farmers in Ko Chan District, Chonburi Provinceen
dc.titleการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกผักในอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรีth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorChalermsak Toomhirunen
dc.contributor.coadvisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญth
dc.contributor.emailadvisor[email protected]
dc.contributor.emailcoadvisor[email protected]
dc.description.degreenameMaster Agriculture in Agricultural Extension and Development (M.Ag. (Agricultural Extension and Development))en
dc.description.degreenameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineMaster of Agriculture (Agricultural and Development)en
dc.description.degreedisciplineเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2649001431.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.