Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13563
Title: | การส่งเสริมการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี |
Other Titles: | Extension of pomelo production according to good agricultural practices standard for farmers in Si Mahosot District, Prachin Buri Province |
Authors: | นารีรัตน์ สีระสาร อารีรัตน์ อุนาท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปริชาติ ดิษฐกิจ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ส้มโอ--ไทย--ปราจีนบุรี--การผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--ปราจีนบุรี |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตส้มโอ 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาแลtข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอที่ขึ้นทะเบียนจากกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2565 ในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 128 ราย โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.49 ปี จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอเฉลี่ย 8.46 ปี มีพื้นที่ปลูกส้มโอเฉลี่ย 3.07 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.27 คน ปริมาณผลผลิตรวมของส้มโอ เฉลี่ย 1,243.20 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้รวมต่อปีในการผลิตส้มโอ เฉลี่ย 27,203 บาทต่อไร่และ ต้นทุนการผลิตส้มโอ 8,931.56 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรปลูกส้มโอพันธุ์ทองดี แหล่งต้นพันธุ์มาจากกิ่งตอน ส้มโออายุเฉลี่ย 13.90 ปี ใช้แหล่งน้ำฝนเป็นหลัก จำหน่ายแบบเหมาสวน 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรมีความรู้ระดับปานกลางเกี่ยวกับการผลิตส้มโอด้านการเตรียมพันธุ์โดยหากิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ 4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร มีปัญหาระดับปานกลาง ประเด็นด้านแหล่งน้ำ เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก และการส่งเสริมแบบกลุ่ม ด้านการส่งเสริมวิธีการผลิตส้มโอเรื่องการจัดหาพันธุ์ที่ดีและ ต้านทานโรค ด้านข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ควรแนะนำการจดบันทึกข้อมูลในกระบวนการผลิตส้มโอในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ประเด็นกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว เช่น การจัดหาแหล่งน้ำในการผลิตต้องไม่มีสารเคมีเจือปน และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบบุคล เช่น เจ้าหน้าที่เข้าไปให้การส่งเสริมกับเกษตรกรโดยตรง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13563 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649001464.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.