กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13568
ชื่อเรื่อง: Extension of Rice Production in Accordance with Agriculture Organic Standards of Farmers in Udomsap Subdistrict, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima
การส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ONUMA OONSAPWIBOON
อรอุมา อุ่นทรัพย์วิบูลย์
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
Sukhothai Thammathirat Open University
jinda khlibtong
จินดา ขลิบทอง
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การส่งเสริม
เกษตรอินทรีย์
การผลิตข้าวอินทรีย์
มาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์
Extension
Organic agriculture
Organic rice production
Organic rice production standard
วันที่เผยแพร่:  28
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) general conditions of farmers 2) rice production conditions according to organic agriculture of farmers 3) problems and suggestions in the extension of rice production according to organic agriculture standard of farmers 4) needs and extension guidelines in organic rice production of farmers. This research was survey research. The population of this study was 1,048 rice farmers in Udomsap sub-district, Wang Nam Khiao district, Nakhon Ratchasima province who had registered as farmers with the department of agricultural extension in 2022/2023. The sample size of 290 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method by lotto picking. Data were collected by conducting interview and were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking.The results of the research found that 1) 67.9% of farmers were male with the average age of 56.56 years old and completed primary school education , 98.3% received news about organic rice production by self-learning, had the average production cost of 3,832.10 Baht/Rai, had the average productivity of 647.93 kilogram/Rai, and earned the average net income of 2,432.03 Baht/Rai. 2) Farmers practiced according to organic agricultural standard at the highest level in 2 aspects: production area which was distant from the hospital and factory and never was the location for waste and chemical disposal; product harvesting with the consideration of ripe stage and environment that may lead to quality driven of produces. Farmers did not practice according to organic agriculture standard on the aspects such as water sources, seed production source, contamination prevention standard, storage and management between organic unmilled rice and inorganic rice. 3) The farmers faced with the problems at the moderate level on the issues of crop location with high application of chemicals, rice stubbles burning in the rice field, the application of chemicals/chemical fertilizer, and contamination prevention standard. 4) Farmers needed knowledge extension ,overall, at the moderate level through the channel of personal media which was public agency, document media which was manuals, electronic media which was internet via demonstration and field trip. 5) Extension guidelines included the governmental officers would be the knowledge transfer individuals according to organic agriculture standard as per rice production road map by using the extension channel through governmental agencies, the creation of manuals, and internet media. The extension method started from behavioral adaptation of farmers according to the 5 adoption processes of Roger which consisted of awareness, interest, consideration ,trail, and adoption.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2565/2566 จำนวน 1,048 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร ยาเมเน ความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 67.9 เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 56.56 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 98.3 รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,832.10 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 647.93 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้สุทธิเฉลี่ย 2,432.03 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น ได้แก่ พื้นที่ปลูกที่มีลักษณะอยู่ห่างจากที่ตั้งของโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมและไม่เคยเป็นที่ทิ้งขยะและสารเคมีมาก่อน การเก็บเกี่ยวผลผลิตคำนึงถึงระยะสุกแก่และสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ผลผลิตสูญเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ แหล่งน้ำ แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ มาตรการป้องกันการปนเปื้อน การเก็บรักษาและการจัดการระหว่างข้าวเปลือกอินทรีย์กับข้าวเปลือกที่ไม่ใช่อินทรีย์ 3) มีปัญหาระดับปานกลาง ในประเด็น ที่ตั้งแปลงปลูกเคยมีการใช้สารเคมีมาก มีการเผาตอซังในนาข้าว ใช้สารเคมี/ปุ๋ยเคมี และมาตรการป้องกันการปนเปื้อน 4) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมความรู้ในภาพรวมระดับปานกลาง ผ่านช่องทาง สื่อบุคคล คือ หน่วยงานราชการ สื่อเอกสาร คือ คู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อินเตอร์เน็ต โดย การสาธิต และการศึกษาดูงาน 5) แนวทางการส่งเสริมคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางการดำเนินการผลิตข้าว โดยใช้ช่องทางการส่งเสริมผ่านหน่วยงานภาครัฐ จัดทำคู่มือ สื่ออินเตอร์เน็ต และวิธีการส่งเสริม เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ตามกระบวนการยอมรับของโรเจอร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นรับรู้ ขั้นสนใจ ขั้นไตร่ตรอง ขั้นทดลองทำ และ ขั้นยอมรับนำปฏิบัติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13568
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2649001795.pdf1.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น