Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13569
Title: การส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
Other Titles: Extension of longan production according to good agricultural practices standard for farmers in Rimping Sub-district, Mueang District, Lumphun Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร
กนกวรรณ คำเกตุ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ลำไย--ไทย--ลำพูน--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--ลำพูน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยในตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  ปี 2565 จำนวน 120 รายโดยเก็บจากประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.48 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ในการผลิตลำไยเฉลี่ย 22.03 ปี ได้รับการอบรมเรื่องการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเฉลี่ย 0.93 ครั้ง มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 5.72 ไร่ ปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ย 7,336.25 กิโลกรัม/ปี ราคาผลผลิตเฉลี่ย 12.41 บาท/กิโลกรัม และมีรายได้ในการจำหน่ายผลผลิตลำไยเฉลี่ย 69,808.33 บาท ต้นทุนในการผลิตลำไยเฉลี่ย 21,354.16 บาท/ปี 2) มีลำไยอายุเฉลี่ย 14.58 ปี มีระยะปลูกลำไย 6x6 เมตร ลักษณะดินที่ปลูกลำไยเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรทั้งหมดปลูกลำไยพันธุ์อีดอ มีการพ่นฮอร์โมนเฉลี่ย 7.02 ครั้ง/ปี เกษตรกรมีการจำหน่ายลำไยแบบสดช่อ และขายลำไยผ่านพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ 3) ปัญหาด้านการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ในประเด็นด้านการบันทึกข้อมูล ด้านการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมแบบกลุ่มในการส่งเสริมการเรียนรู้การผลิตลำไยและด้านการบันทึกข้อมูล และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี คือเจ้าหน้าที่ควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการบันทึกข้อมูล และจัดทำเอกสาร คู่มือ หรือแผ่นพับ จัดทำสื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ และ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก ในประเด็นการส่งเสริมแบบกลุ่ม โดยมีการจัดเวทีและเปลี่ยนเรียนรู้ โดยควรส่งเสริมประเด็นด้านแหล่งน้ำเพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก การเลือกพื้นที่ปลูก และการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การตัดแต่งกิ่ง การขนส่งและการเก็บรักษา เป็นต้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13569
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2649001803.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.