กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13570
ชื่อเรื่อง: | Extension for Quality Pineapple Production by Farmers in Sri Chaing Mai District, Nong Khai Province การส่งเสริมการผลิตสับปะรดคุณภาพของเกษตรกร อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | WORACHET KEAWPHONYO วรเชษฐ์ แก้วโพนยอ Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ Sukhothai Thammathirat Open University Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การผลิตสับปะรด การส่งเสริมการเกษตร สับปะรดคุณภาพดี การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับสับปะรด Pineapple production Agricultural extension Good quality pineapple Good Agricultural practice for pineapple |
วันที่เผยแพร่: | 13 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were 1) to study general data of farmers 2) to compare Pineapple Production Conditions and Pineapple Production cost of farmers with Good Agricultural practice standard certification and general pineapple production farmers 3) to study good agricultural practices 4) to study problems and suggestions regarding pineapple production 5) to study the receiving and needs for quality pineapple production and 6) to analyze the extension guidelines for quality pineapple production. This research was survey research. The population of this research was 179 pineapple production farmers who had registered with Sri Chiang Mai district agricultural office in 2022/23. Data were collected from 179 pineapple production farmers who had registered with Sri Chiang Mai district agricultural office in 2022/26. Interview form was used for data collection. Data were analyzed by using statistics such as frequency distribution, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, t-test, and content analysis. The results of the research found that 1) most of the farmers were female with the average age of 46.6 years old, had the average experience in pineapple production of 18.9 years, had the average pineapple productivity per Rai of 3.85 tone/Rai, and had the average pineapple production area of 9.55 Rai. Most of the pineapple specie was Smooth Cayenne. Some of the farmers used Phu Lae specie. Farmers mostly received the knowledge resource, information, and news from their friends. 2) Both of the two farmer groups had no difference production conditions. Regarding the production cost, both groups were different. 3) Farmers who received the GAP standard certification had the average production cost of 10,577.38 Baht/Rai and the general pineapple production farmers had the cost of production of 16,218.90 Baht/Rai. Farmers who received the GAP standard certification had the average productivity of 4.52 ton/Rai and general pineapple production farmers had the average productivity of 3.47 ton/Rai. 3) Farmers who had received the GAP standard certification practiced regularly in every criteria and general pineapple production farmers hardly practiced them. They practiced at the highest level on water resources, production area, and personal hygiene. 4) Problems faced by the farmers included high cost of production, lack of knowledge in processing and products, lack of water resources at the highest level. Suggestion of farmers included the development of specie that is disease and pest resistance. They wanted the government to have the income guarantee in the same way as other plants of farmers and the factory needed to have production plan and purchase that is in line with the needs .5) Regarding the knowledge received of the farmers, it showed that farmers received knowledge on pineapple production crop preparation at the highest level. The level of knowledge needed revealed that most of the farmers needed the knowledge on new species of pineapple and maintenance at the highest level. 6) The extension guidelines of farmers consisted of (1) upstream: encourage the production plan of new pineapple species and the application of fertilizer according to soil analysis ; (2) mid-stream: promote the production of pineapple according to GAP,GMP standard ; (3) downstream : encourage the pineapple production that are in demand by the market, form the product distribution group, and produce pineapple according to the standard issued for export goods. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการผลิตสับปะรดและต้นทุนการผลิตสับปะรดของเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรดีที่เหมาะสม และเกษตรกร ผู้ปลูกสับปะรดทั่วไป 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตสับปะรด 5) เพื่อศึกษาการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดคุณภาพ และ 6) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตสับปะรดคุณภาพ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอศรีเชียงใหม่ ปี 2565/66 จำนวน 179 ราย โดยเก็บข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 179 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.6 ปี มีประสบการณ์ปลูกสับปะรด เฉลี่ย 18.9 ปี มีผลผลิตสับปะรดต่อไร่ เฉลี่ย 3.85 ตันต่อไร่ มีพื้นที่ปลูกสับปะรดเฉลี่ย 9.55 ไร่ต่อคน พันธุ์สับปะรดที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์ปัตตาเวีย และเกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับแหล่งความรู้ข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนเกษตรกร 2) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีสภาพการผลิตที่ไม่แตกต่างกัน ด้านต้นทุนการผลิต เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน เกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 10,577.38 บาทต่อไร่ และเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดทั่วไปมีต้นทุนการผลิต 16,218.90 บาทต่อไร่ ด้านผลผลิต เกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP มีผลผลิต เฉลี่ย 4.52 ตันต่อไร่ และเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดทั่วไปมีผลผลิตเฉลี่ย 3.47 ตันต่อไร่ 3) เกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP มีการปฏิบัติเป็นประจำทุกข้อกำหนด และเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดทั่วไป มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านแหล่งน้ำ ด้านพื้นที่เพาะปลูก และด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล 4) ปัญหาที่พบ เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตสูง ขาดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขาดแคลนแหล่งน้ำ อยู่ในระดับ มากที่สุด ข้อเสนอแนะของเกษตรกร พัฒนาพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ต้องการให้รัฐบาลประกันรายได้เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ และโรงงานต้องมีการวางแผนการผลิตและรับซื้อให้สอดคล้องกับความต้องการ 5) การได้รับความรู้ของเกษตรกร เกษตรกรได้รับความรู้ในด้านการเตรียมแปลงปลูกสับปะรดมากที่สุด ระดับความรู้ที่ต้องการ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ต้องการความรู้ ด้านพันธุ์สับปะรดใหม่ๆ และการบำรุงดูแลรักษามากที่สุด 6) แนวทางการส่งเสริมเกษตรกร (1) ต้นน้ำ ส่งเสริมการวางแผนการผลิต พันธุ์สับปะรดใหม่ๆและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (2) กลางน้ำ ส่งเสริมการผลิตสับปะรดตามมาตรฐาน GAPและGMP (3) ปลายน้ำ ส่งเสริมการผลิตสับปะรดให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด และมีการรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิต และการผลิตสับปะรดตามมาตรฐานที่กำหนดส่งออกต่างประเทศ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13570 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649001837.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น