กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13574
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension for using the land development department’s application of farmers in Lop Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สุรีรัตน์ ดิษชัง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ กรมพัฒนาที่ดิน--ไทย--ลพบุรี--เทคโนโลยีสารสนเทศ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การได้รับการส่งเสริมความรู้และความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับแอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดิน 3) การใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินของเกษตรกร 4) ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อแอปพลิเคชันของ กรมพัฒนาที่ดิน 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ถือบัตรโครงการบัตรดินดีในจังหวัดลพบุรี ปี 2565-2566 จำนวน 1,006 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้จำนวน 136 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.24 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนเฉลี่ย 8.76 ปี มีประสบการณ์ในการใช้ แอปพลิเคชันเฉลี่ย 6.72 ปี มีระยะเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 3.07 ชั่วโมงต่อวัน เกษตรกร ร้อยละ 68.4 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม และมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม สถาบัน หรือโครงการ และมีรายได้เฉลี่ย 153,389 บาทต่อปี 2) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง โดยได้รับการส่งเสริมความรู้จากสื่อบุคคลมากจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหามาก ในประเด็น ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ ที่ได้รับจากการใช้แอปพลิเคชันฯ เกษตรกรมีความรู้ในการใช้แอปพลิเคชันฯ อยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้มากในประเด็น การตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ที่ต้องการเพาะปลูกผ่านระบบ LDD On Farm ได้ด้วยตนเอง 3) เกษตรกร ร้อยละ 84.6 มีการใช้แอปพลิเคชัน AI Chatbot : คุยกับน้องดินดีมากที่สุด ในประเด็น เป็นช่องทางในการสอบถามข้อมูล/ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน เกษตรกรมีความสามารถในการใช้งานแอปพลิเคชันฯ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรมีความสามารถในการใช้แอปพลิเคชัน AI Chatbot : คุยกับน้องดินดีมากที่สุด และเกษตรกรเห็นด้วยกับประโยชน์จากการใช้แอปพลิเคชันฯ อยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยมากที่สุด ในประเด็น เป็นแหล่งข้อมูล/แหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้านการเกษตร 4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันฯ ในระดับปานกลาง โดยพึงพอใจ มากที่สุด ในประเด็น สามารถค้นหาข้อมูลด้านการเกษตรได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 5) เกษตรกรมีปัญหาในการใช้แอปพลิเคชันฯ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากที่สุด ในประเด็น มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานอินเตอร์เน็ตสูง และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันของกรมพัฒนาที่ดิน ในประเด็น ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ต่าง ๆ ไลน์ เฟซบุ๊ก ยูทูป ติ๊กต๊อก ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13574 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2649002181.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น