กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13590
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to the adoption of technology for increase productivity and reduce costs of maize production by farmers in Mueang Phrae District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ดวงกมล สิทธิมงคล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
อาหารสัตว์จากข้าวโพด
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 2) สภาพการผลิต การยอมรับเทคโนโลยี ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565 ของอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,638 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.06 โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 238 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระดับมากที่สุด และได้รับความรู้จากสื่อกลุ่มมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อบุคคล และสื่อมวลชน เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุด เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะทำให้รู้วิธีการกำจัดโรคและแมลง และมีความต้องการด้านความรู้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในระดับมากโดยเฉพาะความรู้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ราบลุ่มในเขตชลประทาน ใช้พันธุ์ลูกผสม 4.14 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในระดับมากที่สุด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,229.71 บาทต่อไร่ ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7,480.88 บาทต่อไร่ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ความรู้ และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องปุ๋ยเคมีมีราคาแพง การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินยุ่งยากและแม่ปุ๋ยมีราคาแพง สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชมีราคาแพง จึงเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมให้ภาครัฐควรมีการจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูก ตรงตามความต้องการของเกษตรกร และควรมีการถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13590
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000273.pdf1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น