Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13592
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านข้าวของเกษตรกร ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
Other Titles: Factors affecting to good agricultural practices standards for rice of farmers in Lan Dokmai Subdistrict, Muang Kamphaeng Phet District, Kamphaeng Phet Provice 
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
ศิริพร ใจยา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จินดา ขลิบทอง
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--กำแพงเพชร
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและสภาพการผลิตข้าว 2) ความสำคัญและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านข้าว  3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านข้าว 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านข้าว และ 5) สังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านข้าว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลลานดอกไม้ ที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 จำนวน 852 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ตัวอย่าง จำนวน 273 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.98 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 14.71 ปี พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 16.41 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 39.6 ปลูกข้าวพันธุ์ กข49  ไม่มีการลดความชื้น ผลผลิตเฉลี่ย 797.77 กิโลกรัม/ไร่ 2) เกษตรกรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยรวมในระดับมากที่สุด และการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยรวมในระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญและการปฏิบัติในข้อกำหนดการจัดการคุณภาพก่อนการเก็บเกี่ยวระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูลให้ความสำคัญระดับมาก แต่มีการปฏิบัติอยู่ระดับน้อย 3) เกษตรกรประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตผันผวนระดับมาก โดยเสนอแนะให้รัฐบาลหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรักษาระดับราคาไม่ให้มีความผันผวน และอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดทำเอกสาร แบบบันทึก รวมถึงวิธีการบันทึก 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ ฯ ระดับมาก และมีความต้องการด้านสื่อบุคคลระดับน้อย และ 5) แนวทางในการส่งเสริม คือ ส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยพิจารณาจากเงื่อนไขของเกษตรกร และส่งเสริมผ่านช่องทางที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้สื่อบุคคล และ/หรือ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และ/หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ/หรือ การเยี่ยมเยียนในแปลง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13592
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000315.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.