กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13600
ชื่อเรื่อง: | An Extention of Red Cherry Tomato Supply Chain Menagement by Farmers in the Highland Development Project, Khun Sathan Royal Project, Santha Sub-district, NaNoi District, Nan Province. การส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | CHANITA TITPANG ชนิตา ทิศเป็ง Bumpen Keowan บำเพ็ญ เขียวหวาน Sukhothai Thammathirat Open University Bumpen Keowan บำเพ็ญ เขียวหวาน [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การพัฒนาการส่งเสริม การจัดการโซ่อุปทาน มะเขือเทศเชอรี่แดง Extension development supply chain management red cherry tomato |
วันที่เผยแพร่: | 24 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study 1) basic personal, economic, and social conditions of farmers 2) red cherry tomato production conditions of farmers 3) supply chain management for red cherry tomato of farmers 4) knowledge, knowledge resources about red cherry tomato supply chain management of farmers 5) opinions and needs for the extension about red cherry tomato supply chain management of farmers, packaging officers, and customers 6) problems, suggestions, internal environment, external environment, and extension guidelines in red cherry tomato supply chain management of farmers. The population in this research comprised of 3 groups: 1) 15 red cherry tomato production farmers of highland development project, Khun Sathan royal project in 2023; 2) 6 packaging officers and collected the data from the entire population; 3) 3 end customers who accepted the buying of red cherry tomato. The sample size was determined by using purposive sampling method. Data were collected by conducting interview and were analyzed by using descriptive statistics and internal and external environment analysis. The results of the research found that 1) 60.0% of farmers were male with the average age of 46 years old, had the average experience in tomato production of 6 years, had the average production cost for red cherry tomato of 13,533.33 Baht/round, and earned the average income from red cherry tomato production of 136,000 Baht/round. 2) 73.2% of farmers received the seedlings from highland development project, Khun Sathan royal project. The specie used was Tubtim Daeng, planted in the evaporative cooling system, applied fertilizer, and watered the plants through drip irrigation. The average productivity per round was 3,913.33 kilogram and the average selling price of Grade 1 was 38.66 Baht/kilogram. 3) Supply chain management regarding the upstream of farmers had the plan in production and marketing together within the group. The officers for the highland development project in Khun Sathan royal project were the consultants. Regarding the midstream aspect, farmers produced under GAP standard. For the downstream aspect, farmers sold the products in three channels: market of the royal project foundation, agreement market, and local market. 4) Knowledge of farmers were at the very good level. They received the knowledge from mutual knowledge exchange of members within the group at the highest level. Second to that was the receiving of knowledge from technological media that distribute to general public. 5) Farmers focused in the production in the upstream level at the highest level with the need in the support for factors of production such as seedlings, fertilizer, and chemicals. Second to that was the needs for skill and knowledge development extension. 6) Suggestions of farmers included that there should be the support to create continuous production. For the packaging officers and end customers, the main suggestion was that the products of farmers received the certification of GAP standard to create credibility for customers in order to distribute them easier. However, there was a limitation in term of the regularity of the productivity that farmers still not able to make it more consistent. One of the other key opportunity for farmers was that they received support from government and private sector partly in the factor of production, the follow up of the suggestion, and knowledge. In the future, there would be extension guidelines, support of knowledge in the form of online through channel of social media and offline media such as document, book/manual, pamphlets, or various activities such as exhibition in order to have a full coverage and in the fast pace. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกร 3) การจัดการโซ่อุปทานมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกร 4) ความรู้ แหล่งความรู้เกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกร 5) ความคิดเห็น ความต้องการส่งเสริมเกี่ยวกับการจัดการ โซ่อุปทานมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกร เจ้าหน้าที่คัดบรรจุและลูกค้าปลายทาง 6) ปัญหา ข้อเสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก และแนวทางการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานมะเขือเทศเชอรี่แดงของเกษตรกรประชากรในการวิจัย มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเชอรี่แดงของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน ปี 2566 จำนวน 15 ราย และ 2) เจ้าหน้าที่คัดบรรจุ จำนวน 6 ราย ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด 3) ลูกค้าปลายทางที่รับซื้อผลผลิตมะเขือเทศเชอรี่แดง จำนวน 3 ราย ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 60.0 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกมะเขือเทศ เฉลี่ย 6 ปี มีต้นทุนการปลูกมะเขือเทศเชอรี่แดงเฉลี่ย 13,533.33 บาท/รอบ มีรายได้จากการปลูกมะเขือเทศฯเฉลี่ย 136,000 บาท/รอบ 2) เกษตรกร ร้อยละ 73.3 รับกล้าจากโครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯขุนสถาน พันธุ์ที่ใช้ ได้แก่ ทับทิมแดง ปลูกในระบบโรงเรือนปิด การให้ปุ๋ยและน้ำผ่านระบบน้ำหยด ผลผลิตเฉลี่ยต่อรอบ 3,913.33 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายเฉลี่ยเกรด 1 ราคา 38.66 บาท/กิโลกรัม 3) การจัดการโซ่อุปทาน ด้านต้นน้ำเกษตรกรมีการวางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกันภายในกลุ่ม มีเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯขุนสถานเป็นที่ปรึกษา ด้านกลางน้ำเกษตรกรมีการผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP ด้านปลายน้ำเกษตรกรจำหน่ายผลผลิต 3 ช่องทาง คือ ตลาดมูลนิธิโครงการหลวง ตลาดข้อตกลง และตลาดท้องถิ่น 4) ความรู้ของเกษตรกรอยู่ในระดับดีมาก โดยได้รับความรู้จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่มมากที่สุด รองลงมาได้รับความรู้จากสื่อเทคโนโลยีฯ ที่มีการเผยแพร่ทั่วไป 5) เกษตรกรให้ความสำคัญในการผลิตระดับต้นน้ำมากที่สุดโดยมีความต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิตได้แก่ ต้นกล้า ปุ๋ย และสารเคมี รองลงมาคือมีความต้องการส่งเสริมพัฒนาความรู้ทักษะ 6) ข้อเสนอแนะของเกษตรกร มีข้อคิดเห็นว่าควรมีการสนับสนุนให้เกิดการผลิตที่มีความต่อเนื่อง ในส่วนเจ้าหน้าที่คัดบรรจุ และลูกค้าปลายทาง มีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ผลผลิตของเกษตรกรได้รับรองมาตรฐาน GAP สร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าทำให้การจำหน่ายได้ง่าย แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความสม่ำเสมอของผลผลิตที่เกษตรกรยังไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง โอกาสที่สำคัญอีกอย่างของเกษตรกรคือการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งปัจจัยการผลิตบางส่วน การติดตามให้คำแนะนำ และองค์ความรู้ โดยในอนาคตมีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ทั้งรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทาง Social Media และสื่อออฟไลน์ เอกสาร หนังสือ/คู่มือ แผ่นพับ หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นิทรรศการเป็นต้น เพื่อให้เกิดการเข้าถึงที่ครอบคลุมและรวดเร็วต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13600 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659000414.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น