Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13602
Title: Factors Relating the Acceptance of Economic Bamboo Cultivation of  Farmers in Pua District ,Nan Province
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Authors: THANAWAT ANAWONG
ธนวัฒน์ อนาวงค์
Bumpen Keowan
บำเพ็ญ เขียวหวาน
Sukhothai Thammathirat Open University
Bumpen Keowan
บำเพ็ญ เขียวหวาน
[email protected]
[email protected]
Keywords: ความสัมพันธ์  การยอมรับ  การปลูกไผ่
Related
Acceptance
Bamboo
Issue Date:  5
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purpose of this research was to study 1) the basic personal, social and economic conditions of farmers, 2) the economic conditions of bamboo cultivation of farmers, 3) knowledge, sources of knowledge, opinions and needs about economic bamboo cultivation of farmers, 4) factors related to farmers' acceptance of economic bamboo cultivation and 5) problems and suggestions of economic bamboo farmers.The population for this research consists of farmers in Pua District, Nan Province who were registered with the Department of Agricultural Extension in 2022, totaling 8,802 individuals. The sample size was determined using the Taro Yamane formula with a 0.07 error margin, resulting in a sample of 200 individuals. Specific sampling method was used, specifically drawing lots, to define the sample group. Statistics were used to analyze the data using frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, and chi-square test.The research results found that: 1) Most farmers were female, with an average age of 59.19 years old, completed primary school. There were an average of 2.83 agricultural workers in the household, an average household landholding of 6.2 rai, and most farmer had their own sources of capital. 2) Farmers had an average flat bamboo planting area of 1.28 rai, an average slope area of 0.85 rai, a planting distance of 4x4 meters, relying entirely on rainwater, and no pruning. They earned an average income from selling bamboo of 10,779.38 baht per year. 3) Farmers had a high level of knowledge about economic bamboo and with four sources of knowledge: personal media, group media, mass media, and technology and information media. When considering each type of knowledge source, it was found that overall, farmers received knowledge from each source at a low level. Farmers’ opinions and needs about economic bamboo were high. 4) Factors related to farmers’ acceptance of economic bamboo planting were the number of agricultural workers and household landholding, which were statistically significant at the 0.05 level. 5) Farmers had the most problems in planting bamboo for industry, especially in terms of lack of access to industrial areas. Farmers had suggestions on bamboo care, especially in terms of managing sufficient water.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 3) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เศรษฐกิจการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่านที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 จำนวน 8,802 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 200 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อกำหนดขอบเขตของกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.19 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.83 ราย พื้นที่ถือครองที่ดินครัวเรือนเฉลี่ย 6.2 ไร่ และส่วนใหญ่มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกไผ่เป็นพื้นที่ราบเฉลี่ย 1.28 ไร่ พื้นที่ลาดชันเฉลี่ย 0.85 ไร่ ระยะปลูก 4x4 เมตร อาศัยน้ำฝนทั้งหมด ไม่มีการตัดแต่งกอ มีรายได้จากการขายไผ่เฉลี่ย 10,779.38 บาทต่อปี 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก โดยมีแหล่งความรู้ในการได้รับข้อมูล 4 แหล่ง ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกลุ่ม สื่อสารมวลชน และสื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาแหล่งความรู้แต่ละประเภท พบว่าภาพรวมเกษตรกรได้รับความรู้จากแต่ละแหล่งความรู้ในระดับน้อย และความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนแรงงานภาคการเกษตร และการถือครองที่ดินครัวเรือน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) เกษตรกรมีปัญหาในด้านการปลูกไผ่เพื่ออุตสาหกรรมมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นการขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะในด้านการดูแลรักษาไผ่ โดยเฉพาะในประเด็นการบริหารปริมาณน้ำให้เพียงพอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13602
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000455.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.