กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13602
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors relating the acceptance of economic bamboo cultivation of farmers in Pua District, Nan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน ธนวัฒน์ อนาวงค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ไผ่--ไทย--น่าน--การปลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 3) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกไผ่เศรษฐกิจการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอปัว จังหวัดน่านที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 จำนวน 8,802 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 200 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อกำหนดขอบเขตของกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.19 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.83 ราย พื้นที่ถือครองที่ดินครัวเรือนเฉลี่ย 6.2 ไร่ และส่วนใหญ่มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกไผ่เป็นพื้นที่ราบเฉลี่ย 1.28 ไร่ พื้นที่ลาดชันเฉลี่ย 0.85 ไร่ ระยะปลูก 4x4 เมตร อาศัยน้ำฝนทั้งหมด ไม่มีการตัดแต่งกอ มีรายได้จากการขายไผ่เฉลี่ย 10,779.38 บาทต่อปี 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก โดยมีแหล่งความรู้ในการได้รับข้อมูล 4 แหล่ง ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกลุ่ม สื่อสารมวลชน และสื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาแหล่งความรู้แต่ละประเภท พบว่าภาพรวมเกษตรกรได้รับความรู้จากแต่ละแหล่งความรู้ในระดับน้อย และความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกไผ่เศรษฐกิจของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนแรงงานภาคการเกษตร และการถือครองที่ดินครัวเรือน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) เกษตรกรมีปัญหาในด้านการปลูกไผ่เพื่ออุตสาหกรรมมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นการขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะในด้านการดูแลรักษาไผ่ โดยเฉพาะในประเด็นการบริหารปริมาณน้ำให้เพียงพอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13602 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659000455.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น