กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13604
ชื่อเรื่อง: An Extension of Mangosteen Quality Production by  Collaborative Farmers in Lamae District, Chumphon Province
การส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มังคุด  อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: JARINEE WANGSAWANG
จารินี วังสว่าง
Ponsaran Saranrom
พลสราญ สราญรมย์
Sukhothai Thammathirat Open University
Ponsaran Saranrom
พลสราญ สราญรมย์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: มังคุดคุณภาพ การส่งเสริมการเกษตร กลุ่มแปลงใหญ่
Quality mangosteen
agricultural extension
collaborative group
วันที่เผยแพร่:  22
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) basic personal, economic, and social conditions of farmers 2) quality mangosteen production conditions of farmers 3) knowledge regarding quality mangosteen production of farmers 4) needs for the extension of quality mangosteen production of farmers 5) problems and suggestions regarding quality mangosteen production of farmers 6) extension guidelines of mangosteen production of farmers.                           This research was survey research. The population of this study were such as 1) 250 farmers who were members of mangosteen collaborative farming group in La Mae district, Chumphon province. The sample size of 158 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through accidental sampling method. Data were collected by conducting interview and were analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking ;  2) 5 key informants regarding the extension guidelines for mangosteen production. The sample size was determined by using purposive sampling method from the informants who was able to give out the information about extension guidelines regarding mangosteen production.                           The results of the research found that 1) most of the farmers were male with the average age of 55.04 years old, completed primary school education, had the average labor in the household of 2.58 people, had the average labor outside of the household of 2.5 people, had the average experience in mangosteen production of 5.2 Rai, had the average age of mangosteen that already yield the product of 29.80 years, and the average mangosteen productivity from the previous year was 656.70 kilogram. 2) Most of the farmers grew mangosteen at the distance 8x3 m2 . The characteristic of mangosteen production was intercropping. Most of the soil was loamy sand. Most of the farmers received good agricultural practice (GAP) standard, had their own water sources and the watering system was done by using sprinklers. Most of them did not apply fertilizer according soil analysis, harvested product at the bloodline colored period, selected and separated products per their quality, and cleaned products before distribution. 3) Farmers had knowledge about quality mangosteen production at the high level  4) Farmers needed the extension at the high level regarding the knowledge about pest management  the selection of quality mangosteen, the application of fertilizers and chemical in a correct way. They needed knowledge resource on quality mangosteen production at the high level from agricultural extension officers from government sector and needed media aspect at the high level from activity media and online media. 5) Farmers faced with the problems regarding the extension of quality mangosteen production at the moderate level. Suggestions would include more visits into the area, organized the forum for learning exchange, had the solution for low product price, had field trips, organized meeting, and training to give out knowledge regarding the increase for quality mangosteen production. 6) The extension guidelines for quality mangosteen production of farmers included the integrated work among partnership organizations by using agricultural extension method that matched with the needs of farmers and determined the targets in each aspect to accomplish the results.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) สภาพการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกร 3) ความรู้การผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกร 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกร 6) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดของเกษตรกร                    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชาการที่ศึกษา ได้แก่ 1) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มังคุด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 250 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 158 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยจัดเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การจัดอันดับ 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุด จำนวน 5 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดได้                    ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.04 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.58 คน จำนวนแรงงานนอกครัวเรือน เฉลี่ย 2.5 คน ประสบการณ์ในการปลูกมังคุด เฉลี่ย 21.16 ปี มีพื้นที่ปลูกมังคุดทั้งหมด เฉลี่ย 5.2 ไร่ อายุของมังคุดที่ให้ผลผลิตแล้ว เฉลี่ย 29.80 ปี ปริมาณผลผลิตมังคุดที่ได้ปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 656.70 กิโลกรัม 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมังคุดระยะ 8x3 เมตร ลักษณะการปลูกมังคุดแบบสวนแซม ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองและมีระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะสายเลือด มีการคัดแยกคุณภาพผลผลิตและทำความสะอาดก่อนจำหน่าย 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดคุณภาพอยู่ในระดับมาก 4) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมในระดับมากในด้านความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืช การคัดแยกมังคุดให้ได้คุณภาพ การใช้ปุ๋ย สารเคมีอย่างถูกวิธี มีความต้องการด้านแหล่งความรู้การผลิตมังคุดคุณภาพในระดับมากจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐ ความต้องการด้านสื่อในระดับมาก จากสื่อกิจกรรม และสื่อออนไลน์ 5) เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพในระดับปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะให้ออกเยี่ยมเยียนมากขึ้น จัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนูรู้ มีการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ มีการศึกษาดูงาน จัดประชุม และอบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตมังคุดคุณภาพเพิ่มมากขึ้น 6) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพของเกษตรกร  คือ การทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคี โดยใช้วิธีการส่งเสริมการเกษตรที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และมีกำหนดเป้าหมายในแต่ละประเด็นให้เกิดผลสัมฤทธิ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13604
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000497.pdf1.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น