กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13605
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of quality longan production by farmers in Wiang Sa District of Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์
ดารารัตน์ อภิวัน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ลำไย--ไทย--น่าน--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิต ปัญหาในการผลิต และการตลาดลำไยคุณภาพ 3) การปฏิบัติของเกษตรกรตามมาตรฐานการผลิตลำไยคุณภาพ 4) ความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพแก่เกษตรกรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 253 ราย ขนาดตัวอย่างจำนวน 155 ราย โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ นอกจากนี้ มีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 62.34 ปี ประสบการณ์ทำอาชีพเกษตรเฉลี่ย 34.50 ปี ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 28.37 ปี จำนวนคนในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน จำนวนแรงงานในการผลิตลำไยเฉลี่ย 2.10 คน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 19.85 ไร่ พื้นที่ปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 4.62 ไร่ ปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ย 486.39 กิโลกรัม/ไร่ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ย 165,501.57 บาท/ปี รายได้จากการขายลำไยเฉลี่ย 6,459.35 บาท/ไร่ รายจ่ายการผลิตลำไยเฉลี่ย 1,959.23 บาท/ไร่  2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกลำไยเป็นพื้นที่ราบ ปลูกพันธุ์อีดอ มีเพียงประมาณ 1 ใน 3 ตัดแต่งกิ่งแบบทรงเปิดกลางพุ่ม ส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไย เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตลำไยในภาพรวมอยู่ในระดับมากเกือบทุกประเด็น ส่วนใหญ่ขายผลผลิตโดยการจำหน่าย ณ จุดรับซื้อในท้องถิ่น  3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตลำไยคุณภาพเป็นประจำทุกประเด็น  4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการผลิตลําไยคุณภาพอยู่ในระดับมากในประเด็นการผลิต ระดับปานกลาง ได้แก่ การตลาดและวิธีการส่งเสริมการเกษตร และระดับน้อยคือ การแปรรูป และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายแปลงใหญ่ การบูรณาการกับผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดโซ่อุปทาน การผสมผสานภูมิปัญญากับนวัตกรรม การติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาด การพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกร การผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามความต้องการของตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13605
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000505.pdf2.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น