Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13605
Title: An Extension of Quality Longan Production by Farmers in Wiang Sa District of Nan Province
การส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
Authors: DARARAT APHIWAN
ดารารัตน์ อภิวัน
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
[email protected]
[email protected]
Keywords: แนวทางการส่งเสริมการเกษตร การผลิตลำไย การผลิตผลไม้คุณภาพ
Agricultural extension guideline
Logan production
Quality fruit production
Issue Date:  25
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic status of farmers, 2) quality longan conditions and problems of production and marketing, 3) practice in accordance with quality longan production standardization by farmers, 4) extension needs of farmers for quality longan production,        5) an extension guideline of quality longan production for farmers.This was a survey research, the population was 253 longan collaborative farm members in     Wiang Sa District of Nan Province and the samples were calculated by using Taro Yamane’s formula with an error of 0.05 level accounting for 155 farmers and selected by simple random sampling.  Data were collected by a structural interview and analyzed to determine frequency, percentage, minimum and maximum value, mean, standard deviation, and ranking, SWOT analysis was also applied. The research findings showed that 1) farmers were average 62.34 years, had experience in farming and logan plantation with average of 34.50 and 28.37 years.  Their household members and labors were average 4.03 and 2.10 persons.  They held average 19.85 rai of total farming area and average 4.62 rai of logan production area which produced 486.39 kilogram per rai annually. Their average annual household incomes, selling logan produce, and logan production expenses were 165,501.57 baht per year, 6,459.35 baht, and 1,959.23 baht per rai respectively. 2) The plantation was on plain area with E Dow variety and two-thirds of them had tree pruning with opening center of scrub.  Most farmers used chemical fertilizer and pesticides along with logan production technology.  Most problem aspects were stated at high level.  They sold produces at the local buying center. 3) Most aspects were done in accordance with quality logan standardization frequently. 4) Their needs in an extension of quality production process was indicated at high level, however their needs in marketing and extension method were rated at moderate level, and processing was stated at low level. 5) The important extension guideline of quality logan production included collaborative farm network, integration of organizations in supply chain, integration of local wisdom and innovation, follow-up production and marketing situations, development of farmer ability, production and quality based on marketing needs.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร      2) สภาพการผลิต ปัญหาในการผลิต และการตลาดลำไยคุณภาพ 3) การปฏิบัติของเกษตรกรตามมาตรฐานการผลิตลำไยคุณภาพ 4) ความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพแก่เกษตรกรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 253 ราย ขนาดตัวอย่างจำนวน 155 ราย โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ นอกจากนี้ มีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 62.34 ปี ประสบการณ์ทำอาชีพเกษตรเฉลี่ย 34.50 ปี ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 28.37 ปี จำนวนคนในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน จำนวนแรงงานในการผลิตลำไยเฉลี่ย 2.10 คน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 19.85 ไร่ พื้นที่ปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 4.62 ไร่ ปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ย 486.39 กิโลกรัม/ไร่ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ย 165,501.57 บาท/ปี รายได้จากการขายลำไยเฉลี่ย 6,459.35 บาท/ไร่ รายจ่ายการผลิตลำไยเฉลี่ย 1,959.23 บาท/ไร่  2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกลำไยเป็นพื้นที่ราบ ปลูกพันธุ์อีดอ มีเพียงประมาณ 1 ใน 3 ตัดแต่งกิ่งแบบทรงเปิดกลางพุ่ม ส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไย เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตลำไยในภาพรวมอยู่ในระดับมากเกือบทุกประเด็น ส่วนใหญ่ขายผลผลิตโดยการจำหน่าย ณ จุดรับซื้อในท้องถิ่น  3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตลำไยคุณภาพเป็นประจำทุกประเด็น  4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการผลิตลําไยคุณภาพอยู่ในระดับมากในประเด็นการผลิต ระดับปานกลาง ได้แก่ การตลาดและวิธีการส่งเสริมการเกษตร และระดับน้อยคือ การแปรรูป และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายแปลงใหญ่ การบูรณาการกับผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดโซ่อุปทาน การผสมผสานภูมิปัญญากับนวัตกรรม การติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาด การพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกร การผลิตให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามความต้องการของตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13605
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000505.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.