กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13615
ชื่อเรื่อง: Extension of Integrated Pest Management of Spring Onion Collaborative Farmers in That Phanom District, Nakhon Phanom Province
การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรแปลงใหญ่หอมแบ่ง ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: KARNJANAPORN ROOJAK
กาญจนาพร รู้จัก
Chalermsak Toomhirun
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
Sukhothai Thammathirat Open University
Chalermsak Toomhirun
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: หอมแบ่ง การส่งเสริม การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
Spring Onion
Extension
Integrated Pest Management
วันที่เผยแพร่:  16
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) general information and spring onion conditions 2) the outbreak and pest control in spring onion 3) practices according to integrated pest management 4) problems and suggestions in integrated pest management 5) the comparison of the receiving and needs for the extension of integrated pest management 6) synthesis of extension guidelines for the integrated pest management to farmers.This research was survey research. The population of this study was 120 spring onion collaborative farming of farmers in That Phanom, Nakhon Phanom. The sample size of 93 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method Data were collected by conducting interview and were analyzed by using descriptive statistics, and T-test.The results of the research found that 1) most of the farmers were female with the average age of 54.9 years old. Most of them completed primary school level 6 and had the average experience in spring onion production of 13.45 years.  The farmers received information regarding Integrated Pest Management from governmental officers, The spring onion used was Uttaradit (Laplae), harvested mostly when they were at 75-90 days in order to sell as spring onions, 2) The overall pest outbreak is at a high level. Preventing and eliminating plant diseases and pests mainly uses chemicals. But most weeds can be removed by hand. 3) Farmers focused and practiced according to Integrated Pest Management by doing cultivation method at the highest level and chemical substance usage at the high level. 4) Farmers faced with the problems in pest management at the high level in 3 methods: physical method, biological method, and the use of bioextracts method. They need support for tools or machinery, low-interest agricultural loans and extension of knowledge in Integrated Pest Management. 5) Farmers received low level of extension in terms of  knowledge, extension methods and extension channels and needed extension in all 3 sides to a high level. 6) Extension guidelines included the extension of cultivation method together with chemical substance usage, plant disease and pest control by non-chemical method, the plant production in the greenhouse along with physical method, the use of mechanical and biological methods along with chemicals, in eliminating weeds and insect pests, and the application of appropriate chemical substances.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปและสภาพการผลิตหอมแบ่งของเกษตรกร 2) การระบาดและการกำจัดศัตรูพืชในหอมแบ่งของเกษตรกร 3) การปฏิบัติตามการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร 5) เปรียบเทียบการได้รับและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร และ 6) สังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานแก่เกษตรกร                   การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรแปลงใหญ่หอมแบ่งในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 120 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ตัวอย่าง จำนวน 93 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที                   ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.9 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ประสบการณ์การปลูกหอมแบ่งเฉลี่ย 13.45 ปี เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ พันธุ์หอมแบ่งที่ใช้ คือ พันธุ์อุตรดิตถ์ (ลับแล) เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 75 – 90 วัน เพื่อขายเป็นหัวพันธุ์หอมแบ่ง  2) การระบาดของศัตรูพืชโดยรวมอยู่ในระดับมาก ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่ใช้สารเคมี ส่วนวัชพืชนิยมใช้การกำจัดด้วยมือ  3) เกษตรกรให้ความสำคัญและปฏิบัติตามการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานโดยรวมระดับปานกลาง โดยเฉพาะวิธีเขตกรรมมากที่สุด และการใช้สารเคมีระดับมาก 4) เกษตรกรมีปัญหาการจัดการศัตรูพืชในระดับมาก 3 วิธี คือ วิธีฟิสิกส์ ชีววิธี และการใช้สารสกัดธรรมชาติ โดยต้องการให้สนับสนุนเครื่องมือ หรือเครื่องจักร, สินเชื่อการเกษตรดอกเบี้ยต่ำและส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 5) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมระดับน้อยในด้านความรู้ ด้านวิธีการส่งเสริม และด้านช่องทางการส่งเสริม และมีความต้องการการส่งเสริมทั้ง 3 ด้านในระดับมาก 6) แนวทางการส่งเสริม โดยส่งเสริมการใช้วิธีเขตกรรมร่วมกับการใช้สารเคมี, การป้องกันและกําจัดโรคพืช และแมลงศัตรูพืชโดยปลอดสารเคมี ,การปลูกพืชในโรงเรือนร่วมกับวิธีฟิสิกส์ ,การใช้วิธีกลและชีววิธีร่วมกับสารเคมี ในการกำจัดวัชพืช และแมลงศัตรูพืช และการใช้สารเคมีที่เหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13615
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000695.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น