กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13618
ชื่อเรื่อง: An Extension Guideline of Quality Aromatic Rice Production for Farmers in Sawang Arom District of Uthai Thani Province
แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอ    สว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Somsak Ketkan
สมศักดิ์ เกตุการณ์
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sunan Seesang
สุนันท์ สีสังข์
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การส่งเสริมการผลิตข้าว ข้าวหอมคุณภาพ การผลิตข้าวหอม แนวทางการส่งเสริมการเกษตร
Extension of rice production
Quality Aromatic rice
Aromatic rice production
Agricultural extension guideline
วันที่เผยแพร่:  4
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) personal and socio-economic situations of farmers, 2) situations and problems of aromatic rice production by farmers, 3) knowledge and practice of quality aromatic rice production by farmers, 4) farmers’ needs and suggestion for an extension of quality aromatic rice production.  This was a survey research.  The population was 264 farmers in Sawang Arom District of Uthai Thani Province who registered as aromatic producers in production year of 2023/2024. The samples were selected by simple random sampling and calculated by using Taro Yamane’s formula with an error level of 0.05 accounting for 159 farmers. The data were collected by a structural interview and analyzed to determine frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum and maximum values.  SWOT Analysis was also applied. The research findings showed that 1) farmers had an average age of 53.75 years and finished primary education an average 3.16 household members. They had averages of 18.52 years and 3.20 years for rice farming and quality rice farming experience.  They had an average 2.70 household farm labors for working in an average of 32.75 rai of total farm area including an average 26.69 rai of rice farming area.  They earned annual household income and farm income with averages of 145,003.77 and 112,000.00 baht respectively.  2) Most of them bought rice seeds from local market and produced by themselves, planted in rainy season with seed broadcasting method, and applied chemical pesticides, and had no standardized certification. They indicated problems of quality aromatic rice production at high level such as high cost of building water source and reservation for rice farming and high price of quality seeds. 3) Most of them had knowledge at moderate level and practiced in accordance with standardization of quality aromatic rice production occasionally. Furthermore 4) they indicated their needs in an extension of quality aromatic production at high level such as knowledge of innovation of pest outbreak and control, study visit and training in quality aromatic rice production.  They suggested that the government agency should support of quality seeds from reliable source, low interest loan from government bank, packaging development, and media development for quality aromatic rice extension.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพและปัญหาการผลิตข้าวหอมคุณภาพของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติในการผลิตข้าวหอมคุณภาพของเกษตรกร และ 4) ความต้องการของเกษตรกรและแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมคุณภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มพันธุ์ข้าวหอมในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในปี 2566/67 จำนวน 264 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 159 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และนอกจากนี้ มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.16 คน ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 18.52 ปี ประสบการณ์ในการผลิตข้าวคุณภาพเฉลี่ย 3.20 ปี แรงงานทำการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.70 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 32.75 ไร่ พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 28.69 ไร่ รายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี 145,003.77 บาท และรายได้จากภาคการเกษตรในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 112,000.00 บาท 2) เกษตรกรส่วนมหญ่ใช้แหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวจากร้านค้าในท้องถิ่นและผลิตพันธุ์ข้าวไว้เอง ปลูกข้าวในหน้าฝนแบบหว่านน้ำตม ใช้สารคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต ปัญหาของเกษตรกรในการผลิตข้าวหอมคุณภาพอยู่ในระดับมาก เช่น ต้นทุนสูงในการสร้างแหล่งน้ำและกักเก็บน้ำเพื่อการปลูกข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพราคาสูง 3) ภาพรวมเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ระดับปานกลางและการปฏิบัติเป็นบางครั้งตามมาตรฐานการผลิตข้าวหอมคุณภาพ และ 4) เกษตรกรมีความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมคุณภาพอยู่ในระดับมาก เช่น ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูข้าว โดยการศึกษาดูงานและการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตข้าวหอมคุณภาพ โดยมีข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริม ได้แก่ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพตรงตามพันธุ์มาจากแหล่งเชื่อถือได้ แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารของรัฐ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาสื่อในการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมคุณภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000737.pdf1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น