Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13620
Title: | Organizational Commitment of Government Officials in Central Office of Department of Agricultural Extension ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการในสังกัดส่วนกลาง ของกรมส่งเสริมการเกษตร |
Authors: | NUNTHINEE KHAMJORN นันทินี คำจร Benchamas Yooprasert เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ Sukhothai Thammathirat Open University Benchamas Yooprasert เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ [email protected] [email protected] |
Keywords: | ความผูกพันต่อองค์กร ข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตร Organizational commitment Government official Department of Agricultural Extension |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Sukhothai Thammathirat Open University |
Abstract: | The objectives of this research were to study (1) basic personal attribute factors (2) working attribute (3) experience in the work (4) organizational commitment (5) relationship of personal factors, working attribute factors, and experience in the work toward the organizational commitment. This research was survey research. The population was 862 government officials at the practitioner level, professional level, and senior professional level under the central office of the department of cultural extension in 2023. The sample size of 274 people was determined by using Taro Yamane formula and simple random sampling method. Data were collected by online questionnaires and were analyzed by using descriptive analysis such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results of the research found that (1) most of the government officials were female with the average age of 40.03 years, graduated with bachelor degree, single, held the position with the professional level, had the average working period of 12.90 years, and the average working period in the department of agricultural extension of 11.92 years. (2) The opinions toward the work attribute, overall, were at the high level. When considering the sub-aspect, it revealed that the level was high in 4 aspects such as the understanding in the working process, the uniqueness of the work, the work that open up the opportunity to interact with others, and work feedback. They were at the high level in 2 aspects such as the freedom in the work and the variety of the work, respectively. (3) The opinions on the working experience, overall, were at the high level. When considering the sub-aspects, they found that the highest level was in 1 aspect which was the dependency of the organization and the high level in 3 aspects such as attitude toward colleagues, the importance of the organization, and the expectation received from responding to the organization, respectively. (4) The organizational commitment, overall, was at the highest level. When consider the sub-topic, it showed that it was at the highest level in 3 aspects: motivational commitment, persistence, and feeling, respectively. (5) The results of hypothesis testing of the relationship of basic personal attribute, working attribute, and working experience with organizational commitment of government officials showed that the level of education, the freedom in the work, the work feedback, work that allow the interaction with others, the understanding of working process, the importance of yourself toward the organization, the dependency of the organization, the expectation received from responding to the organization, and attitude towards colleagues affected the organizational commitment of government officials, central office of department of agricultural extension at statistically significant level of 0.05, 0.01. The level of education, freedom in the work, work feedback, attitude toward colleagues had the negative relationship while work that opened up the opportunity to interact with others, the understanding of working process, and the importance of yourself toward the organization, the dependency of the organization, the expectation received from responding to the organization showed the positive relationship. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ลักษณะของงาน 3) ประสบการณ์ในงาน 4) ความผูกพันต่อองค์กร 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะของงาน และประสบการณ์ในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ในสังกัดส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 จำนวน 862 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 274 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุผลการวิจัย พบว่า 1) ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.03 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.90 ปี และระยะเวลาปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 11.92 ปี 2) ความคิดเห็นที่มีต่อลักษณะของงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ในประเด็น ได้แก่ ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความมีเอกลักษณ์ของงาน งานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และผลป้อนกลับของงาน และอยู่ในระดับมาก 2 ประเด็น ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงานและความหลากหลายของงาน 3) ความคิดเห็นกับการมีประสบการณ์งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ประเด็น คือ ความพึ่งพิงได้ขององค์กร และอยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น ได้แก่ ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน ความสำคัญต่อองค์กร และความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร 4) ข้าราชการมีความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ลักษณะของงาน และประสบการณ์ในงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ พบว่า ระดับการศึกษา ความมีอิสระในการทำงาน งานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับการศึกษา ความมีอิสระในการทำงาน จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นลบ ส่วนงานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นบวก ผลป้อนกลับของงาน ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความสำคัญของตนต่อองค์กร ความพึ่งพิงได้ขององค์กร ความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร และทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผลป้อนกลับของงาน ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน มีทิศทางความสัมพันธ์เป็นลบ และความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความสำคัญของตนต่อองค์กร ความพึ่งพิงได้ขององค์กร ความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นบวก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13620 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000760.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.