Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13620
Title: | ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการในสังกัดส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร |
Other Titles: | Organizational commitment of government officials in Central Office of Department of Agricultural Extension |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ นันทินี คำจร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร--ข้าราชการ ความผูกพันต่อองค์การ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ลักษณะของงาน 3) ประสบการณ์ในงาน 4) ความผูกพันต่อองค์กร 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะของงาน และประสบการณ์ในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ในสังกัดส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 จำนวน 862 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 274 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุผลการวิจัย พบว่า 1) ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.03 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.90 ปี และระยะเวลาปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 11.92 ปี 2) ความคิดเห็นที่มีต่อลักษณะของงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ในประเด็น ได้แก่ ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความมีเอกลักษณ์ของงาน งานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และผลป้อนกลับของงาน และอยู่ในระดับมาก 2 ประเด็น ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงานและความหลากหลายของงาน 3) ความคิดเห็นกับการมีประสบการณ์งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ประเด็น คือ ความพึ่งพิงได้ขององค์กร และอยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น ได้แก่ ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน ความสำคัญต่อองค์กร และความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร 4) ข้าราชการมีความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ลักษณะของงาน และประสบการณ์ในงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ พบว่า ระดับการศึกษา ความมีอิสระในการทำงาน งานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับการศึกษา ความมีอิสระในการทำงาน จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นลบ ส่วนงานที่เปิดโอกาสให้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นบวก ผลป้อนกลับของงาน ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความสำคัญของตนต่อองค์กร ความพึ่งพิงได้ขององค์กร ความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร และทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผลป้อนกลับของงาน ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงาน มีทิศทางความสัมพันธ์เป็นลบ และความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ความสำคัญของตนต่อองค์กร ความพึ่งพิงได้ขององค์กร ความคาดหวังที่จะได้รับการสนองจากองค์กร จะมีทิศทางความสัมพันธ์เป็นบวก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13620 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000760.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.