Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13631
Title: แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของสมาชิกนาแปลงใหญ่ในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Extension guideline of enhancing rice production efficiency by rice collaborative farm members in Prathai District of Nakhon Ratchasima Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์
สัมพันธ์ คงมั่นกลาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วนาลัย วิริยะสุธี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--ไทย--นครราชสีมา--การผลิต
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกนาแปลงใหญ่ 2) สภาพและปัญหาการผลิตข้าวของสมาชิกนาแปลงใหญ่ 3) การปฏิบัติของสมาชิกนาแปลงใหญ่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว 4) ความต้องการและข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของสมาชิกนาแปลงใหญ่ 5) แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของสมาชิกนาแปลงใหญ่ ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี พ.ศ.2566) ในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา และเป็นสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าว จำนวน 1,373 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 187 ราย การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการใช้การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกนาแปลงใหญ่อายุเฉลี่ย 58.52 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 36.54 ไร่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 152,252.81 บาท/ปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 100,112.36 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 56,430.30 บาท/ปี จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.62 คน ส่วนใหญ่ใช้แหล่งเงินทุนตนเอง 2) สมาชิกนาแปลงใหญ่ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของตนเองและไม่ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช มีปัญหาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการผลิตข้าวอยู่ในระดับมากที่สุด และมีปัญหาการจัดการผลิตและตลาดข้าวอยู่ในระดับมาก 3) สมาชิกนาแปลงใหญ่มีการปฏิบัติเป็นบางครั้งเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเกือบทุกประเด็น มีบางประเด็นที่มีการปฏิบัติเป็นประจำ 4) สมาชิกนาแปลงใหญ่มีความต้องการการส่งเสริมความรู้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดเตรียมดินและพื้นที่ปลูก นวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการน้ำในนาข้าว การควบคุมวัชพืช การป้องกันการระบาดของโรคและแมลงศตรูข้าว และการผลิตข้าวแบบครบวงจร 5) แนวทางการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของสมาชิกนาแปลงใหญ่ พบกลยุทธ์ 5 ด้าน ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพ การจัดการตลาด และการบริหารจัดการการผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13631
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659000935.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.