Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13635
Title: | การส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดลของเกษตรกรในอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Extension of quality mangosteen production according to BCG Model of farmers in Ban Na Derm District, Surat Thani Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน อัจจิมา ผลกล่ำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มังคุด--ไทย--สุราษฎร์ธานี--การผลิต BCG Model |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตมังคุดและการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร และ 5) ปัญหา ข้อแสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2566 จำนวน 138 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จากการสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายในและปัจจัยนอก ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 61.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.18 คน มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 225,391.30 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ระดับมาก โดยตอบถูกต้องเฉลี่ย 10.65 ข้อ จาก 15 ข้อ เกษตรกรได้รับความรู้จากสื่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง มากกว่าสื่ออื่นๆ 3) เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกมังคุดเฉลี่ย 11.98 ปี พื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 3.50 ไร่ ปริมาณผลผลิตมังคุดเฉลี่ย 850.94 กิโลกรัมต่อปี และจากการประเมินการปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 71.01 มีการผลิตมังคุดคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด แต่มีการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 64.49 4) เกษตรกรมีความคิดเห็นในการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นการช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมังคุด เกษตรกรมีความต้องการระดับปานกลางทั้งด้านความรู้ ด้านช่องทางการส่งเสริม และด้านวิธีการส่งเสริม 5) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากด้านการตลาด โดยเฉพาะในประเด็นราคาผลผลิตไม่มีความแน่นอน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมากทั้งด้านการตลาด ด้านความรู้ และด้านการผลิต โดยเฉพาะการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้ประกอบการการแปรรูปและการจำหน่าย โดยมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ มีการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร จุดอ่อน คือ เกษตรกรมีการจัดการสวนมังคุดแบบดั้งเดิม ขาดการแปรรูป โอกาสที่สำคัญคือ มังคุดมีความต้องการมาก และมีหน่วยงานให้การสนับสนุน อุปสรรค คือ ราคาผลผลิตมังคุดค่อนข้างต่ำ ขาดแคลนแรงงาน โดยมีแนวทางส่งเสริมได้แก่ ส่งเสริมการแปรรูปมังคุด เพื่อเพิ่มมูลค่า และขยายช่องทางการจำหน่าย รวมถึงส่งเสริมความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการสวนมังคุดที่ทันสมัย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13635 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659000992.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.