กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13635
ชื่อเรื่อง: An Extension of Quality Mangosteen Production According to BCG Model of Farmers in Ban Na Derm District, Surat Thani Province
การส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดลของเกษตรกรในอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ADJIMA POLKLUM
อัจจิมา ผลกล่ำ
Bumpen Keowan
บำเพ็ญ เขียวหวาน
Sukhothai Thammathirat Open University
Bumpen Keowan
บำเพ็ญ เขียวหวาน
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การผลิตมังคุด  มังคุดคุณภาพ  BCG โมเดล
Mangosteen Production
Quality Mangosteen
BCG Model
วันที่เผยแพร่:  5
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to study 1) basic personal, social, and economic conditions of farmers 2) knowledge and knowledge resources regarding quality mangosteen production according to BCG model guidelines of farmers 3) mangosteen production conditions and quality mangosteen production according to BCG model guidelines of farmers 4)  opinions and needs for the extension on quality mangosteen production according to BCG model guidelines of farmers and  5) problems, suggestions, internal and external environment, and extension guidelines for quality mangosteen production according to BCG model guidelines of farmers.                  This research a mixed methods approach. The population of this study was 138 mangosteen production farmers who had registered as farmers with Ban Na Duem district office of agriculture, Suratthani province in 2023. Data were collected from the entire population through conducting interview. By employing descriptive statistics were such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking and SWOT Analysis.                The results of the research found that 1) most of the farmers were female with the average age of 61.66 years old, completed primary school education, were members of agricultural institutions, had the average labor in the household of 2.18 people, earned the income from the agricultural sector of 225,391.30 Baht/year. 2) Farmers had knowledge in quality mangosteen production according to BCG model guideline model at the high level with the average correct answers of 10.65 out of 15 questions. They received knowledge from online media at the moderate level but more than other types of media. 3) Farmers had the average experience in mangosteen production of 11.98 years, had the average mangosteen production area of 3.50 Rai, and had the average mangosteen productivity of 850.94 kilogram/year. From the evaluation of practices, it was found that 71.01% of farmers produce high-quality mangosteen at the highest level. However, the production of mangosteen according to the BCG model guidelines is at a low level, with 64.49%. 4) Farmers expressed theirpio opinions regarding the extension of quality mangosteen production according to BCG model guidelines at the high level especially on the aspect of the increase of productivity and quality of mangosteens. Farmers needed at the moderate level in knowledge, extension channel, and extension method. 5)  Farmers faced with the problems at the high level regarding the marketing on the issue of uncertain product price. Farmers suggested at the high level in marketing, knowledge, and production especially on the extension of group formation of farmers to increase the bargaining power with the processing and distribution entrepreneurs.The key strength was that there was a group formation and knowledge exchange off farmers.The weakness was that farmers managed the mangosteen garden in a traditional way, hence; lack of processing. The key opportunity was that the mangosteens were in high demand as well as the support from the agencies. The threats included the rather low price of mangosteen and the lack of labors. The extension guidelines included the extension of mangosteen processing for value adding and the expansion of channel of distribution along with the promotion of knowledge and technology about modern mangosteen garden management.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร  2) ความรู้ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตมังคุดและการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ของเกษตรกร และ 5) ปัญหา ข้อแสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และแนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG  โมเดล ของเกษตรกร                       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ปี 2566 จำนวน 138 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จากการสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายในและปัจจัยนอก                      ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 61.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.18 คน มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 225,391.30 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล ระดับมาก โดยตอบถูกต้องเฉลี่ย 10.65 ข้อ จาก 15 ข้อ เกษตรกรได้รับความรู้จากสื่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง มากกว่าสื่ออื่นๆ 3) เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกมังคุดเฉลี่ย 11.98 ปี พื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 3.50 ไร่ ปริมาณผลผลิตมังคุดเฉลี่ย 850.94 กิโลกรัมต่อปี และจากการประเมินการปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 71.01 มีการผลิตมังคุดคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด แต่มีการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 64.49  4) เกษตรกรมีความคิดเห็นในการส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทาง BCG โมเดล อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นการช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมังคุด เกษตรกรมีความต้องการระดับปานกลางทั้งด้านความรู้ ด้านช่องทางการส่งเสริม และด้านวิธีการส่งเสริม 5) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากด้านการตลาด โดยเฉพาะในประเด็นราคาผลผลิตไม่มีความแน่นอน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมากทั้งด้านการตลาด ด้านความรู้ และด้านการผลิต โดยเฉพาะการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้ประกอบการการแปรรูปและการจำหน่าย โดยมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ มีการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร จุดอ่อน คือ เกษตรกรมีการจัดการสวนมังคุดแบบดั้งเดิม ขาดการแปรรูป โอกาสที่สำคัญคือ มังคุดมีความต้องการมาก และมีหน่วยงานให้การสนับสนุน อุปสรรค คือ ราคาผลผลิตมังคุดค่อนข้างต่ำ ขาดแคลนแรงงาน โดยมีแนวทางส่งเสริมได้แก่ ส่งเสริมการแปรรูปมังคุด เพื่อเพิ่มมูลค่า และขยายช่องทางการจำหน่าย รวมถึงส่งเสริมความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการสวนมังคุดที่ทันสมัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659000992.pdf1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น