กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13638
ชื่อเรื่อง: | Extension and Development for Agricultural Learning Center in Prachuap Khiri Khan Province การส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | JITAPHAT WOYSIN จิตาพัชญ์ โว้ยสิ้น Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ Sukhothai Thammathirat Open University Chalermsak Toomhirun เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การส่งเสริม การพัฒนา Agricultural Learning Center Extension Development |
วันที่เผยแพร่: | 15 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study 1) general information of the agricultural learning center committees and the agricultural learning center 2) the operation of the agricultural learning center 3) problems and suggestions in the operation of the agricultural learning center 4) the receiving and needs for the extension and development of the agricultural learning center and 5) the analysis of the extension and development guidelines of the agricultural learning center. The research was done by survey method. The population of this study was 134 agricultural learning center committees from 8 centers in Prachuap Khiri Khan province. Data were collected from the entire population with random sampling. Tool used in the data collection was interview forms. Data were analyzed by using statistics such as frequency distribution, percentage, mean, minimum value, maximum value, and standard deviation.The results of the research revealed that 1) the committees of the agricultural learning center (ALC) were male with the average age of 57.89 years, completed lower secondary education level, were village agricultural volunteers, and were members of the collaborative farming group. 2) The operation regarding model farmer, learning crop, and service were at the highest level while learning center, learning curriculum, and management were at the high level. 3.) The problems in the operation regarding service were at the moderate level. For learning center, model farmer, learning crop, learning curriculum, learning base, and management, the problems were at the low level. 4) The receiving of the extension and development for learning center, personal media, publication media, and extension method were at the moderate level. Regarding the electronic media, it was on the low level. The needs for the extension and development on the aspect of learning center, personal media, publication media, electronic media, and extension method were at the high level. 5) The extension and development guidelines of the ALC consisted of the modification of basic structure, the facilitation of materials and equipment, the readiness and appropriateness in the knowledge exchange for development, learning curriculum development to respond to community, the management which connect the collaborative farming network, young farmers, and the integration with other agencies. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 2) การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและ 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และ 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากร คือ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 8 ศูนย์ รวม 134 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการฯ เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 57.89 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีตำแหน่งทางสังคมเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน และเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ 2) การดำเนินงานด้านเกษตรกรต้นแบบ ด้านแปลงเรียนรู้ ด้านฐานเรียนรู้ ด้านการให้บริการในระดับมากที่สุด ด้านศูนย์เรียนรู้ ด้านหลักสูตรการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการในระดับมาก 3) ปัญหาการดำเนินงาน ด้านการให้บริการในระดับปานกลาง ด้านศูนย์เรียนรู้ ด้านเกษตรกรต้นแบบ ด้านแปลงเรียนรู้ ด้านหลักสูตรการเรียนรู้ ด้านฐานเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการในระดับน้อย 4) ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ด้านศูนย์เรียนรู้และองค์ประกอบ ศพก. ด้านสื่อบุคคลด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้านวิธีการส่งเสริม ในระดับปานกลาง ด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระดับน้อย และความต้องการการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ด้านศูนย์เรียนรู้ ด้านสื่อบุคคล ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก และ 5) แนวทางในการส่งเสริม คือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกให้มีความพร้อมและเหมาะสมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน การบริหารจัดการแบบเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับเครือข่าย และบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13638 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001081.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น