กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13653
ชื่อเรื่อง: | Strategy for developing in community of soil and fertilizer Management Center, Wang Khrai Subdistrict, Tha Yang District, Phetchaburi Province กลยุทธ์การพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | NATTEE BOONTHONGKAM ณัฐธีร์ บุญทองคำ Bumpen Keowan บำเพ็ญ เขียวหวาน Sukhothai Thammathirat Open University Bumpen Keowan บำเพ็ญ เขียวหวาน [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | กลยุทธ์การพัฒนา ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน Developmental strategy Community soil and fertilizer management center An applying fertilizers based on soil analysis results |
วันที่เผยแพร่: | 18 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to study 1) agricultural data of members and farmers who received the service from community soil and fertilizer management center 2) opinions, needs, problems, and suggestions of members and farmers who received the service from community soil and fertilizer management center 3) knowledge, knowledge resources of members of community soil and fertilizer management center and the strength of community soil and fertilizer management center 4) the benefits received of farmers who received the service of community soil and fertilizer management center and the developmental strategy for community soil and fertilizer management center.This research was mixed method research. The population consisted of 3 groups : 1) farmers who received the service from community soil and fertilizer management center in 2023 with unknown number. The sample size of 165 was determined by using Cochran formula with the error value of 0.07; 2) 41 members of community soil and fertilizer management center; and 3) 10 committees from community soil and fertilizer management center collected all the data. Tool used in this study was structured interview form. Data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, maximum value, minimum value, mean, standard deviation, ranking, and classification.The results of the research revealed that 1) farmers who received the service earned the average total income from the agricultural sector of 112,978.79 Baht/year, had the average cost in the agricultural sector of 40,646.67 Baht/year, had the average debt in the agricultural sector of 46,389.41 Baht, had the average agricultural experience of 23.66 years, and held the average land ownership of 11.54 Rai. Members of community soil and fertilizer management center earned the average total income from the agricultural sector of 149,946.34 Baht/year, had the cost from agricultural sector of 65,365.85 Baht/year, had the average income in the agricultural sector of 62,500 Baht, had the average agricultural experience of 33.71 years, and held the average land ownership of 10.02 Rai. 2) The opinions of farmers who received the service from community soil and fertilizer management center were at the highest level especially on the aspect that the center had knowledge regarding soil and fertilizer management that was accurate and reliable. The needs of farmers who received the service from the center were at the highest level on 2 aspects: service and knowledge. The problems of farmers in receiving the service from the center were at the high level in all 4 aspects especially about lack of public relations for members about the services of the community soil and fertilizer management center. Suggestions of farmers who received the service from the center were at the highest level in all aspects: especially should be organized well, in order to provide continuous service. The needs of the center members were at the highest level in 3 aspects: resource support, knowledge, and support from the officials. The problems faced by the members at the highest level in 6 aspects especially on the issue of the lack of members who had knowledge regarding soil and fertilizer management for providing the service to the farmers. Suggestions of the center members were at the highest level in 6 aspects especially on the aspect that there should be the creation of the demonstration crop which utilized soil and fertilizer management technology in comparison with the traditional agricultural farming of farmers. 3) Regarding the knowledge of the center member, it showed that 61.4% had knowledge on the management of community soil and fertilizer management center and 60.0% had basic knowledge on soil and fertilizer. The knowledge resources of the center members were at the highest level such as personal media. For the strength of community soil and fertilizer management center, it was at the highest level : external factor of the center and internal factor of the center. The external factor had an impact toward the strength at the highest level on the aspect of the cooperation of the agricultural extension officers while the internal factor impacting the strength at the highest level on group strength and the creation and restoration of group standard. 4) The benefits that the farmers received from obtaining the service of the center were at the highest level in 2 aspects : production and farmers with the progressive strategy in the development of community soil and fertilizer management center by organizing continuous seminar to exchange knowledge through the support by providing the lecturers in various forums, increasing the channel of promotion, and establishing the knowledge resources. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านการเกษตรของสมาชิกและเกษตรกรผู้เข้ารับบริการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 2) ความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหา และข้อเสนอแนะของสมาชิกและเกษตรกรผู้เข้ารับบริการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 3) ความรู้ แหล่งความรู้ของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน และความเข้มแข็งของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 4) ประโยชน์ที่ได้รับของเกษตรกรผู้เข้ารับบริการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน และกลยุทธ์การพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยประชากรที่ศึกษา มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้เข้ารับบริการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ปี 2566 ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของคอแครน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 165 ราย 2) สมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน จำนวน 41 ราย และ 3) คณะกรรมการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบล วังไคร้ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรผู้รับบริการ มีรายได้รวมภาคการเกษตรเฉลี่ย 112,978.79บาท/ปี ต้นทุนภาคการเกษตรเฉลี่ย 40,646.67 บาท/ปี มีหนี้สินภาคการเกษตร โดยเฉลี่ย 46,389.41 บาท ประสบการณ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 23.66 ปี และพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 11.54 ไร่ / สมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน มีรายได้รวมภาคการเกษตรเฉลี่ย 149,946.34 บาท/ปี ต้นทุนภาคการเกษตรเฉลี่ย 65,365.85 บาท/ปี มีหนี้สินภาคการเกษตร โดยเฉลี่ย 62,500 บาท ประสบการณ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 33.71 ปี และพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 10.02 ไร่ (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้เข้ารับบริการต่อ ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้าน ศูนย์มีองค์ความรู้ด้านการจัดการดินและปุ๋ยที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ 2) ความต้องการของเกษตรกรผู้เข้ารับบริการต่อ ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริการ และด้านความรู้ ปัญหาของเกษตรกรในการเข้ารับบริการ ศดปช อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะเรื่อง สมาชิกขาดการประชาสัมพันธ์การให้บริการของศูนย์ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการเข้ารับบริการ ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่อง ควรมีการจัดหน้าที่ให้ดี เพื่อให้เกิดการบริการอย่างต่อเนื่อง ความต้องการของสมาชิก ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ด้านความรู้ และด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ ปัญหาของสมาชิก ศดปช อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ประเด็นโดยเฉพาะขาดสมาชิกที่มีความรู้เรื่องการจัดการดินและปุ๋ย ในการให้บริการเกษตรกร ข้อเสนอแนะของสมาชิก ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ประเด็น โดยเฉพาะควรมีการสร้างแปลงสาธิตโดยใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยเปรียบเทียบกับการทำเกษตรด้วยวิธีเดิมของเกษตรกร 3) ความรู้ของสมาชิก ศดปช. ร้อยละ 61.4 มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ ศดปช. และร้อยละ 60.0 มีความรู้เบื้องต้นด้านดินและปุ๋ย แหล่งความรู้ของสมาชิก ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ สื่อบุคคล และความเข้มแข็งของ ศดปช. อยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความเข็มแข็งมากที่สุด คือ ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในขณะที่ประเด็นภายในที่มีผลต่อความเข้มแข็งมากที่สุด คือ ความเข้มแข็งของกลุ่ม และการสร้างและรักษามาตรฐานของกลุ่ม 4) ประโยชน์ที่ได้รับของเกษตรกรผู้เข้ารับบริการ ศดปช.อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต และด้านเกษตรกร โดยมีกลยุทธ์เชิงรุก ในการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน คือ มีการจัดเวที อย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนโดยการให้เป็นวิทยากรในเวทีต่างๆ เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ และจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001412.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น