Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13654
Title: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Development guidelines of the young smart farmer in Uttaradit Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ปิยะพร คงพัวะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
Young smart farmer potential
Development Guideline
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจและสภาพการทำการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ทักษะการทำการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 4) ความรู้และแหล่งความรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 6) แนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ผ่านการประเมินเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างปี 2557 - 2566 จำนวน 338 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้จำนวน 153 ราย  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ และคัดเลือกผู้แทนเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 10 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การจัดหมวดหมู่ข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38 ปีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 164,418 บาท/ปี  จำนวนแรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน และมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง 2) ความเห็นด้วยต่อความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ระดับทักษะของเกษตรกรรุ่นใหม่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะทักษะด้านการจัดการ 4) ระดับความรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะความรู้ด้านการจัดการผลผลิต ส่วนระดับการเข้าถึงแหล่งความรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพะแหล่งความรู้จากสื่อออนไลน์ 5) ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาในการพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านการสนับสนุน ส่วนระดับความคิดเห็นต่อข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการตลาด จุดแข็ง เกษตรกรมีการทำกิจกรรมทางการเกษตรที่หลากหลาย จุดอ่อน สินค้ามีจำกัด ผลิตได้ไม่เพียงพอ โอกาส ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน อุปสรรค การส่งเสริมหรือสนับสนุนขาดช่วงและไม่ต่อเนื่อง แนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ คือ ผลิตสินค้าที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคควร มีการสร้างความเข้มแข็งด้านการรวมกลุ่มและเสริมสร้างเครือข่าย ส่งเสริมนโยบายที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับความชำนาญของเกษตรกร และการรวมกลุ่มผู้ผลิต เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13654
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001446.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.