Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13656
Title: | การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู |
Other Titles: | Social media using for public relations by of Agricultural Extension Officers in Nong Bua Lam Phu Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม พัชราวรรณ สุนันต๊ะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ สื่อสังคมออนไลน์ การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--หนองบัวลำภู |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) ความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4) ความต้องการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จากประชากรทั้งหมด คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 49 ราย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสนทนากลุ่มกับตัวแทนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน 15 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 63.3 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.39 ปี ร้อยละ 63.3 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุราชการเฉลี่ย 7.28 ปี 2) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พบว่า ทั้งหมดใช้ไลน์ รองลงมา ร้อยละ 95.9 ใช้ เฟซบุ๊ก ร้อยละ 71.4 ใช้ยุทูบ โดยส่วนใหญ่ใช้งาน 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ในช่วงเวลา 15.01 - 18.00 น. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและความรู้ให้แก่เกษตรกร 3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก เนื่องจากมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ 4) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 85.7 ต้องการอบรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยอบรมเกี่ยวกับการสร้างความจดจำและดึงดูด ความสนใจ รูปแบบคลิปวิดีโอ/ภาพเคลื่อนไหวและอินโฟกราฟิก และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออื่น ๆ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ (แผ่นพับ/เอกสารวิชาการ) 5) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีปัญหาสูงสุดในด้านข้อมูลข่าวสาร รองลงมา คือ ปัญหาด้านความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และปัญหาด้านสื่อและอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเด็นที่เห็นด้วยสูงที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง เหมาะสม อ้างอิงข้อมูลแหล่งที่มา สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีถูกแอบอ้างให้รีบชี้แจงและแจ้งเตือนผู้รับสาร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13656 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001487.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.