กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13662
ชื่อเรื่อง: ความต้องการส่งเสริมในการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Need for extension in the extension of rice production according to good agricultural practice standard of rice collaborative farming farmers in Phu Wiang Sub-district, Khon Kaen Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์
พัชรินทร์ เกษขจร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--มาตรฐาน
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--ขอนแก่น
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ข้าว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 513 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรทาโร ยามาเน่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 225 คน สุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ใน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1)เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.01 ปี จบประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือน 3.99 คน ประสบการณ์ในการทำนา 33.93 ปี อาชีพหลักทำการเกษตร อาชีพรองรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่ถือครองที่ดินของครัวเรือน ใช้เงินทุนของตนเอง รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 172,127.55 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 45,624 บาท หนี้สินเฉลี่ย 25,182.22 บาท 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์กข 6 ใช้เมล็ดพันธุ์ซื้อจากหน่วยงานราชการ ทำนาหว่านข้าวแห้ง ไถกลบตอซังก่อนปลูกข้าว สูตรปุ๋ยที่ใช้คือ 16-16-8 โรคและแมลงที่พบมากได้แก่ โรคใบจุดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กำจัดโดยใช้สารเคมี เกี่ยวข้าวรวงข้าวมีอายุ 25 -35 วัน จากวันออกดอก 3)เกษตรกรมีความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความรู้น้อยที่สุด คือ การทำป้ายบันทึกข้อมูล และการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ 4)ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล 5) ความต้องการความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการความรู้อันดับหนึ่ง คือ การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว วิธีการส่งเสริมที่ต้องการอันดับหนึ่ง คือ การส่งเสริมรายบุคคลจากเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรับรอง การสนับสนุนต้องการอันดับหนึ่ง คือ เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659001651.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น