Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13663
Title: | การส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออก ของสมาชิกแปลงใหญ่ในจังหวัดบึงกาฬ |
Other Titles: | Extension of quality gros michel banana production for export by collaborative farm members in Bueng Kan Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์ ชินานันท์ อาจยาทา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ กล้วยหอมทอง--การส่งออก |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของสมาชิกแปลงใหญ่ 2) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกล้วยหอมทอง 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออก 4) ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออก และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออกแก่สมาชิกแปลงใหญ่การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ทำการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทองของจังหวัดบึงกาฬจำนวน 89 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ มีการใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกนาแปลงใหญ่อายุเฉลี่ย 56.36 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 14.78ไร่ พื้นที่ปลูกกล้วยหอมทอง 3.59 ไร่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 415,392.13 บาท/ปี รายได้จากการขายกล้วยหอมทองเฉลี่ย 326,673.60 บาท และรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 56,175.06 บาท/ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.62 คน 2) สมาชิกแปลงใหญ่ส่วนใหญ่มีความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกล้วยหอมทองในเรื่อง วัตถุอันตรายทางการเกษตร การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรวบรวมและการขนย้ายผลิตผล และสุขภาพและการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติ แต่ยังมีความรู้ไม่ถูกต้องในเรื่อง แหล่งน้ำ พื้นที่เพาะปลูก และการบันทึกข้อมูล 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออกของสมาชิกแปลงใหญ่ โดยเกษตรกรปฏิบัติทุกครั้งเกือบทุกประเด็น ยกว้นการปฏิบัติในเรื่อง แหล่งน้ำและพื้นที่ปลูกที่มีการปฏิบัติบางครั้ง 4) สมาชิกแปลงใหญ่มีปัญหาระดับน้อยถึงปานกลางในทุกประเด็น ขณะเดียวกันมีความต้องการระดับมากและมากที่สุดในทุกประเด็น 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อการส่งออก ประกอบด้วย การใช้พันธุ์คุณภาพดี การปฏิบัติตามมาตรฐานการผฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การใช้สารชีวภัณฑ์และวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน การสนับสนุนแหล่งเงินทุนและปัจจัยการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและการสร้างแบรนด์ และการตลาดออนไลน์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13663 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001727.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.