กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13667
ชื่อเรื่อง: Extension of Mango Production in Accordance with Good Agricultural Practices for Farmers in Khao Chakan District, Sa Kaeo Province
การส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: THITIKA KHAOKAEW
ฐิติกา เขาแก้ว
Benchamas Yooprasert
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Sukhothai Thammathirat Open University
Benchamas Yooprasert
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: การส่งเสริมการผลิต ความต้องการการส่งเสริม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
Production extension
Extension needs
Good Agricultural Practice
วันที่เผยแพร่:  24
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The objectives of the research were to study 1) social and economic conditions 2) mango production conditions according to Good Aricultural Practices 3) knowledge regarding mango production according to Good Agricultural Practices          4) the receiving of the extension and needs for the extension of mango production according to Good Agricultural Practices      5) problems and suggestions in the extension of mango production according to Good Agricultural Practices.This research was survey research.The population of this research was 217 farmers in Khao Chakan district, Sa Kaeo province. The sample size of 141 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 through simple random sampling method. Tool used in this study was structured interview form. Statistics applied in the data analysis were such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking.                    The results of the study revealed that 1) most of the farmers were male with the average age of 58.43 years old and had never participated as related agricultural group/organization members. 2) Farmers produced mango according Good Agricultural Practices at the highest level. Every farmer utilized water from clean water sources with no application of chemicals specified hazardous material database prohibited in the production, restored the hazardous and chemical materials proportionally and in close space, got rid of chemicals in the manner that would not cause the contamination to the fruits, had the management method in the application of fertilizer and soil modification, separated the area of restoration, mixing, fertilizer transfer, waste containers, chemicals, and agricultural hazardous materials proportionally, harvested the mango at the appropriate age, correct hygiene, and quality fruit according to the needs of the market. Most of them did not specify the fruit model or symbol displaying production source, harvesting date, and productivity during restoration, transportation, or packaging for distribution. 3) Farmers had knowledge about mango production according to Good Agricultural Practices at the high level with the highest knowledge on the aspect that the operators of agricultural hazardous materials must have the health check at least once a year and the least knowledge level on the aspect of pre harvest time which was able to use organic fertilizer with incomplete fermentation in the production process. 4) Farmers received the knowledge extension about personal hygiene at the highest level. For the extension method, they received the extension through the visitation of the officers to the rice fields and house of farmers at the highest level. In regard to the support on the service from the officers, they received it at the highest level. Farmers needed the knowledge regarding the application of agricultural hazardous materials and the recording according to the test at the highest level. They focused on group extension and needed the support on the aspect of the service providing of the officers at the highest level. 5)Farmers faced with the problems, overall, at the moderate level.              The most problematic issue was on the lack of support in production factors. Second to that was the complicated data recording. They suggested on the support of factors of production at the highest level. Second to that was on the organization of field trips at the high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศษฐกิจ 2) สภาพการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติ   ทางการเกษตรที่ดี 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 217 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ยอมรับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 141 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ                 ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 58.43 ปี ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2) เกษตรกรผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ใช้สารเคมีที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ในการผลิต จัดเก็บวัตถุอันตรายและสารเคมีเป็นสัดส่วน   และมิดชิด กำจัดสารเคมีในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล มีการจัดการการใช้ปุ๋ยและการปรับปรุงบำรุงดิน แยกพื้นที่เก็บรักษา ผสม ขนย้ายปุ๋ย ภาชนะบรรจุของเสีย สารเคมี และวัตถุอันตรายทางการเกษตรเป็นสัดส่วน เก็บเกี่ยวมะม่วงที่มีอายุเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ ผลิตผลมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด และส่วนใหญ่ไม่ระบุรุ่นผลิตผล หรือเครื่องหมายแสดงแหล่งผลิต วันที่เก็บเกี่ยว และปริมาณผลิตผลที่อยู่ระหว่างเก็บรักษา ขนย้าย หรือบรรจุเพื่อจำหน่าย 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้มากที่สุดประเด็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีความรู้น้อยที่สุดประเด็น ก่อนการเก็บเกี่ยวสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักไม่สมบูรณ์ในกระบวนการผลิตได้ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมด้านความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลมากที่สุด ผ่านวิธีการส่งเสริมแบบบุคคลต่อบุคคล โดยเจ้าหน้าที่เยี่ยมเยียนไร่นาและบ้านของเกษตรกร และได้รับการสนับสนุนด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่มากที่สุด เกษตรกรต้องการความรู้ด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และการบันทึกการตามสอบ    อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเน้นวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มบุคคล และต้องการการสนับสนุนด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับ    มากที่สุด 5) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิตมากที่สุด รองลงมา คือ การบันทึกข้อมูลมีความยุ่งยาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ   ควรจัดศึกษาดูงานนอกสถานที่ อยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13667
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2659001818.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น