Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13667
Title: | การส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว |
Other Titles: | Extension of mango production in accordance with good agricultural practices for farmers in Khao Chakan District, Sa Kaeo Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ ฐิติกา เขาแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มะม่วง--การผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--สระแก้ว |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศษฐกิจ 2) สภาพการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 217 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ยอมรับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 141 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 58.43 ปี ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2) เกษตรกรผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกรายใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ใช้สารเคมีที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ในการผลิต จัดเก็บวัตถุอันตรายและสารเคมีเป็นสัดส่วน และมิดชิด กำจัดสารเคมีในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล มีการจัดการการใช้ปุ๋ยและการปรับปรุงบำรุงดิน แยกพื้นที่เก็บรักษา ผสม ขนย้ายปุ๋ย ภาชนะบรรจุของเสีย สารเคมี และวัตถุอันตรายทางการเกษตรเป็นสัดส่วน เก็บเกี่ยวมะม่วงที่มีอายุเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ ผลิตผลมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด และส่วนใหญ่ไม่ระบุรุ่นผลิตผล หรือเครื่องหมายแสดงแหล่งผลิต วันที่เก็บเกี่ยว และปริมาณผลิตผลที่อยู่ระหว่างเก็บรักษา ขนย้าย หรือบรรจุเพื่อจำหน่าย 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้มากที่สุดประเด็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีความรู้น้อยที่สุดประเด็น ก่อนการเก็บเกี่ยวสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักไม่สมบูรณ์ในกระบวนการผลิตได้ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมด้านความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลมากที่สุด ผ่านวิธีการส่งเสริมแบบบุคคลต่อบุคคล โดยเจ้าหน้าที่เยี่ยมเยียนไร่นาและบ้านของเกษตรกร และได้รับการสนับสนุนด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่มากที่สุด เกษตรกรต้องการความรู้ด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และการบันทึกการตามสอบ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเน้นวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มบุคคล และต้องการการสนับสนุนด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมากที่สุด 5) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิตมากที่สุด รองลงมา คือ การบันทึกข้อมูลมีความยุ่งยาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ควรจัดศึกษาดูงานนอกสถานที่ อยู่ในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13667 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2659001818.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.